Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13578
Title: | การส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าวในตำบลช่อระกา อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา |
Other Titles: | Extension of organic fertilizer application of paddy field collaborative farming farmers in Cho Rraka Subdistrict, Ban Lueam District, Nakhon Ratchasima Province |
Authors: | จินดา ขลิบทอง ธัญญลักษณ์ เจียรจอหอ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ปุ๋ยอินทรีย์ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทั่วไปเกษตรกรและการผลิตข้าวของเกษตรกร 2) ความรู้และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกร 3) ปัญหาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกร 4) ความต้องการการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกร และ 5) แนวทางการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกร การรวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวล ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรแปลงใหญ่ข้าว ในตำบลช่อระกา อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 133 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 53 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 56.80 ปี มีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 17.38 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ยที่ 476.70 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 71,455 บาทต่อปี มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 1,091 บาทต่อไร่ 2) เกษตรกรมีความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว อยู่ในระดับมากและมากที่สุด การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เกษตรกรร้อยละ 31 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี อีกร้อยละ 69 ไม่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากขาดวัสดุอุปกรณ์ ในการผลิต และกระบวนการยุ่งยาก 3) เกษตรกรมีปัญหามากที่สุด เกี่ยวกับลักษณะของปุ๋ยอินทรีย์ ประเด็นปุ๋ยอินทรีย์ปล่อยธาตุอาหารช้ากว่าปุ๋ยเคมีทำให้เห็นผลช้า 4) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวมากที่สุด ได้แก่ วิธีการส่งเสริม คือการดูงาน การฝึกอบรม ผ่านสื่อกิจกรรม นิทรรศการ ต้องการการส่งเสริมประเด็นความรู้เรื่อง การปลูกพืชตระกูลถั่วในแปลงนาแล้วไถกลบ และใช้สื่อบุคคล คือ ส่งเสริมจากนักวิชาการ กรมส่งเสริมการเกษตร 5) แนวทางการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้เกษตรกรสามารถส่งเสริมได้โดย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร/เจ้าหน้าที่รัฐหน่วยงานอื่น ที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้องค์ความรู้เรื่อง ต่างๆที่เกษตรกรเป้าหมายสนใจ ผ่านสื่อกิจกรรม งานนิทรรศการหรือการถ่ายทอดความรู้ ให้ความรู้ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ร่วมกับการศึกษาดูงาน เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติมากขึ้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13578 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2649002306.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.