Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13603
Title: Development Guidelines Media  for Rice Pest Management Extension         of Farmers in Prathai District, Nakhon Ratchasima Province
แนวทางการพัฒนาสื่อเพื่อการส่งเสริมการจัดการศัตรูข้าวของเกษตรกร                ในอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
Authors: UTHUMPORN CHANSITA
อุทุมพร จันสีทา
jinda khlibtong
จินดา ขลิบทอง
Sukhothai Thammathirat Open University
jinda khlibtong
จินดา ขลิบทอง
[email protected]
[email protected]
Keywords: แนวทางการพัฒนาสื่อ สื่อการส่งเสริม การจัดการศัตรูข้าว การผลิตข้าว
Guidelines Media Development
Extension Media
Rice Pest Management
Rice production
Issue Date:  26
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this research were to study 1) general information and rice production conditions of farmers 2) media and level of media usage in rice pest management of farmers 3) problems in the use of media in rice pest management of farmers 4) needs for knowledge and types of media for rice pest management extension and 5) media development guidelines for pest management extension. This research was survey research. The population of this study were farmers who were members of rice collaborative farming in Prathai district, Nakhon Ratchasima province. The sample size of 178 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.07 through simple random sampling method by lotto picking. Data were collected by using interview form and were analyzed by using statistics such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, and ranking. The results of the study found that 1) 61.8% of farmers were female with the age between 46-50 years old and the average age of 50.04 years old, completed secondary school education, and received the agricultural information from the agricultural extension officers. The equipment for communication in the household was smart phone. They had the average experienced in rice production of 29.37 years, had the average rice production area of 27.21 Rai, had the average rice production cost of 2,257.54 Baht/Rai, had the average productivity of  382.30 kilogram/Rai, and in year 2023, farmers found rice pest outbreak at the lowest level. 2) Farmers used publication media in managing leaf blight at the moderate level and the usage of video media in rice pest management at the moderate level. 3) Problem from the use of publication media included that farmers did not know types of media that are available. Regarding the problem in the use of online media, it included that farmers faced with the problem of low speed internet network system. They did not know that there was media available and lacked of expertise in the use of media. 4) Farmers received the knowledge in rice pest management extension at the lowest level. They needed knowledge in the extension for the leaf blight at the highest level. They needed personal media at the high level. The methods of extension needed for rice pest management were such as lecturing, demonstration, and training. 5)  Media development guidelines for pest management extension included fast, sufficient and in-time for usage as well as facilitating farmers to be able to access all the media types as per equipment, expertise, and skills of farmers in the use of media for pest management extension. .
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปและสภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร 2) สื่อและระดับการใช้สื่อในการจัดการศัตรูข้าวของเกษตรกร 3) ปัญหาการใช้สื่อในการจัดการศัตรูข้าวของเกษตรกร 4) ความต้องการความรู้ และประเภทของสื่อ เพื่อการส่งเสริมการจัดการศัตรูข้าว และ5) แนวทางพัฒนาสื่อเพื่อการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืช การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มนาแปลงใหญ่ ในอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 178 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยการจับสลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกร ร้อยละ 61.8 เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 46-50 ปี อายุเฉลี่ย 50.04 ปี มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ได้รับข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร อุปกรณ์เพื่อการสื่อสารในครัวเรือน คือ Smart Phone มีประสบการณ์การปลูกข้าวเฉลี่ย 29.37 มีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 27.21 ไร่ ต้นทุนการผลิตข้าว 2,257.54 บาท/ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 382.30 กิโลกรัม/ไร่ และในรอบปี 2566 เกษตรพบการระบาดของศัตรูข้าวในระดับน้อยที่สุด 2) เกษตรกรใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในการจัดการโรคไหม้ข้าวในระดับปานกลาง และใช้สื่อวีดิทัศน์ในการจัดการศัตรูข้าวในระดับปานกลาง 3) ปัญหาจากการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ คือ เกษตรกรไม่ทราบว่ามีสื่อใดบ้าง ปัญหาจากการใช้สื่อออนไลน์ คือ เกษตรกรมีปัญหาระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีความเร็วต่ำ ไม่ทราบว่ามีสื่อ และขาดความชำนาญในการใช้สื่อ 4) เกษตรกรได้รับความรู้ในการส่งเสริมการจัดการศัตรูข้าวในระดับน้อยที่สุด ต้องการความรู้ในการส่งเสริมการจัดการโรคไหม้ในระดับมากที่สุด ต้องการสื่อบุคคลในระดับมาก และต้องการวิธีการส่งเสริมการจัดการศัตรูข้าว ได้แก่ การบรรยาย การสาธิต และการฝึกปฏิบัติ 5) แนวทางพัฒนาสื่อเพื่อการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืช คือ ความรวดเร็ว เพียงพอ และทันต่อการใช้งาน การทำให้เกษตรกรเข้าถึงสื่อทุกประเภท ตามอุปกรณ์ ความชำนาญและทักษะของเกษตรกรในการใช้สื่อเพื่อการส่งเสริมการกำจัดศัตรูพืช
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13603
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659000489.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.