Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13608
Title: Development Guidelines Operations of Community Enterprise in ChonDaen district, PhetchabunProvince.
แนวทางพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์
Authors: JANTANA TAJANA
จันทนา เตจ๊ะนา
jinda khlibtong
จินดา ขลิบทอง
Sukhothai Thammathirat Open University
jinda khlibtong
จินดา ขลิบทอง
[email protected]
[email protected]
Keywords: แนวทางพัฒนา การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน  วิสาหกิจชุมชน
Development guideline
Operations of Community enterprise
Community enterprise
Issue Date:  22
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this research were to study 1) Basic status of community enterprise members 2) Operation of community enterprises 3) Participation in the operation of community enterprise members 4) Problems related to the operation of community enterprises 5) Needs and Development Guidelines of Community Enterprise. The population in the study was community enterprise members in Chan Daen District, Phetchabun Province, business type: food processing and products, year 2023, 15 locations, 233 members. The sample group was determined using Taro Yamane's formula at an error level of 0.05, resulting in a sample of 148 people. Simple random sampling was used by drawing lots. Data were collected using interviews and focus group discussions with the presidents of 15 community enterprises and 1 community development professional, totaling 16 people. The statistics used for analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, ranking, t-test, and content analysis. It was found that 1) Most community enterprise members are female, with an average age of 53.75 years, graduated from high school or vocational certificate, and mostly work as gardeners. They are BAAC customers and do not have positions in the community. The purpose of the community enterprise is to conduct activities to produce for sale. Most of the distribution channels are self-sales, and the group's capital comes from members' fundraising. 2) The overall operation of the community enterprise is at a moderate level, with high production operations, including raw materials for production from within the community. 3) The overall participation in the operation of the community enterprise is at a moderate level, with high production operations, including the procurement of raw materials for production. 4) The overall operation problems are at a moderate level, with high marketing issues, because community enterprise members have a small marketing network and a small variety of marketing channels. Some members have entered the aging society and lack knowledge about technology and marketing. 5) Community enterprise members have different levels of knowledge they have received and levels of knowledge they need. Members need the most production knowledge, followed by government officials through lectures, to a greater extent.  The group development approach should focus on developing product production to be diverse, outstanding, high-quality, and certified by standards, by applying technology and innovation in all operations, and promoting group members to be Smart Farmers and Young Smart Farmers to create a wider marketing network, be able to be lecturers to transfer knowledge, and set up as a learning center.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 2) การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 4) ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน 5)   ความต้องการและแนวทางพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ วิสาหกิจชุมชนในอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2566 ประเภท การแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร จำนวน 15 แห่ง สมาชิกจำนวน 233 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 148 ราย  สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มกับประธานวิสาหกิจชุมชน 15 แห่ง และนักวิชาการพัฒนาชุมชน 1 ราย รวม 16 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับ การหาค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.75 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือปวช. ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน เป็นกลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส. และไม่มีตำแหน่งภายในชุมชน วิสาหกิจชุมชน มีจุดประสงค์ของการดำเนินกิจกรรมผลิตเพื่อจำหน่าย ช่องทางการจำหน่ายสินค้าส่วนใหญ่จำหน่ายสินค้าเอง และปัจจัยสนับสนุนของกลุ่มมาจากการระดมทุนของสมาชิก 2) การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการดำเนินการผลิต อยู่ในระดับมาก ด้านการบริหารจัดการกลุ่ม ด้านการตลาด และด้านการเงินและบัญชี อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการดำเนินการผลิตอยู่ในระดับมาก ด้านการบริหารจัดการกลุ่มด้านการตลาด อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ด้านการเงินและบัญชี อยู่ในระดับน้อยที่สุด  4) ปัญหาในการดำเนินงานภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการตลาด อยู่ในระดับมาก เนื่องจากสมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีเครือข่ายทางการตลาดน้อย รวมถึงช่องทางการตลาดไม่หลากหลาย สมาชิกบางรายเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ขาดความรู้เรื่องเทคโนโลยี และการตลาด 5) ระดับความรู้ที่ได้รับ และระดับความต้องการความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีความต้องการความรู้ด้านการผลิตในระดับมากที่สุด ผ่านช่องทางเจ้าหน้าที่รัฐ โดยวิธีการบรรยาย ในระดับมาก แนวทางพัฒนาการดำเนินของวิสาหกิจชุมชน ควรมุ่งเน้นการพัฒนาการผลิตสินค้า ให้มีความหลากหลาย โดดเด่น มีคุณภาพ และได้รับการรับรองมาตรฐาน โดยนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามาปรับใช้ในทุก                   การดำเนินงานอีกทั้งส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มเป็น เกษตรกรปราดเปรื่อง และเกษตรกรรุ่นใหม่ เพื่อสร้างเครือข่ายทางการตลาดให้กว้างขึ้น สามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และจัดตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13608
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659000554.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.