Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13626
Title: | Extension of Pineapple Production According to Good Agricultural Practices of Pineapple Farmers in Cha-am District, Phetchaburi Province การส่งเสริมการผลิตสับปะรดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี |
Authors: | ANGKANA THANAKAMONPRADIT อังคณา ธนะกมลประดิษฐ์ Chalermsak Toomhirun เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ Sukhothai Thammathirat Open University Chalermsak Toomhirun เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ [email protected] [email protected] |
Keywords: | การผลิตสับปะรด การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี การส่งเสริมการผลิต Pineapple Production Good Agricultural Practices Extension of Production |
Issue Date: | 2 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The objectives of this research were to study 1) general conditions and pineapple production conditions 2) the comparison between the importance and practices according to Good Agricultural Practice 3) problems and suggestions regarding Good Agricultural Practices 4) the comparison between the receiving and needs for the extension on Good Agricultural Practices and 5) the analysis of the extension guidelines on Good Agricultural Practices. The research was done by survey method. The population of this study was 276 pineapple production farmers in the area of Cha Am district, Phetchaburi province. The sample size of 164 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.05 through simple random sampling method. Data were collected by conducting interview form and were analyzed by using descriptive statistics, T-test, and content analysis.The results of the research revealed that 1) farmers were male with the average age of 57.38 years old, completed primary school education, had the average experience in pineapple production of 23.71 years, and had the average pineapple production area at 29.36 Rai. They repetitively grew pineapple in the same area and applied fertilizer to maintain pineapple seedlings but did not water the pineapple of 57.3%. The average production cost and the pineapple maintenance was supply to 49,145.71 Baht/Rai. The average total income from pineapple production was 29,485.37 Baht/Rai. 2) Farmers focused and practices in rules about harvesting and post-harvest at the highest level. For data recording and checking, farmers focused on it at the moderate level but practiced at the low level. 3) Farmers faced with the problem regarding water resource at the moderate level with the most problematic issue on the lack of water resource and labor problem. They needed the support regarding technology and the use of machines in the harvest. 4) Farmers received the extension in every aspect at the lowest level. They needed the extension regarding knowledge about water resources at the highest level by using publication media and crop visits. 5) The extension guidelines included the extension on pineapple production according to Good Agricultural Practices by considering from the conditions of farmers and the extension through appropriate channels such as the use of personal media and/or the use of publication media and/or electronic media and/or crop visits. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปและสภาพการผลิตสับปะรด 2) เปรียบเทียบการให้ความสำคัญและการปฏิบัติตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) เปรียบเทียบการได้รับและความต้องการการส่งเสริมการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และ 5) วิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากร คือ เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ในพื้นที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 276 ราย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ตัวอย่าง 164 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 57.38 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประสบการณ์การปลูกสับปะรดเฉลี่ย 23.71 ปี พื้นที่ปลูกสับปะรดเฉลี่ย 29.36 ไร่ ปลูกสับปะรดซ้ำพื้นที่เดิม และใส่ปุ๋ยบำรุงต้นสับปะรด แต่ไม่มีการให้น้ำสับปะรด ร้อยละ 57.3 ต้นทุนการปลูกและการดูแลรักษาสับปะรด เฉลี่ย 49,145.71 บาท/ไร่ รายได้รวมการผลิตสับปะรด เฉลี่ย 29,485.37 บาท/ไร่ 2) เกษตรกรให้ความสำคัญและปฏิบัติในข้อกำหนดการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวในระดับมากที่สุด ส่วนการบันทึกข้อมูลและการตามสอบ เกษตรกรให้ความสำคัญในระดับปานกลาง แต่ปฏิบัติในระดับน้อย 3) เกษตรกรมีปัญหาด้านแหล่งน้ำในระดับ ปานกลาง โดยมีปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำมากที่สุด และปัญหาด้านแรงงาน ต้องการให้สนับสนุนด้านเทคโนโลยีและการใช้เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยว 4) เกษตรกรได้รับการส่งเสริมทุกด้านอยู่ในระดับน้อยที่สุด และมีความต้องการการส่งเสริมด้านความรู้เรื่องแหล่งน้ำมากที่สุด โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ และการเยี่ยมเยียนในแปลง และ 5) แนวทางในการส่งเสริม คือ ส่งเสริมการผลิตสับปะรดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี โดยพิจารณาจากเงื่อนไขของเกษตรกร และส่งเสริมผ่านช่องทางที่เหมาะสม ได้แก่ การใช้สื่อบุคคล และ/หรือ การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ และ/หรือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ/หรือ การเยี่ยมเยียนในแปลง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13626 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659000851.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.