Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13629
Title: | แนวทางพัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ |
Other Titles: | Development guidelines for agricultural extension officers in organic agriculture extension |
Authors: | จินดา ขลิบทอง พัชรากร เรืองศรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ เกษตรอินทรีย์ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 2) ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้และการปฏิบัติด้านเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 4) ความต้องการการส่งเสริมด้านเกษตรอินทรีย์ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และ 5) แนวทางการพัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ระดับอำเภอ ทำงานในโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน ด้านกิจกรรมพัฒนาการผลิตเกษตรอินทรีย์ ปี 2566 จำนวน 262 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 158 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยจับสลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การทดสอบค่าที และการทดสอบไคสแควร์ผลการศึกษาพบว่า 1) เจ้าหน้าที่ ร้อยละ 67.1 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 38.01 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 66.5 จบสาขาวิชาพืชศาสตร์ ร้อยละ 22.2 มีประสบการณ์ทำงานส่งเสริมเกษตรอินทรีย์เฉลี่ย 3.85 ปี และร้อยละ 23 ได้รับข้อมูลข่าวสารเกษตรอินทรีย์ผ่านการฝึกอบรม สัมมนาและศึกษาดูงาน 2) เจ้าหน้าที่มีความเห็นว่าเกษตรกรมีการรับรู้ด้านการจัดการดินและปฏิบัติด้านการแสดงฉลากและการกล่าวอ้างระดับมาก และระดับการรับรู้และการปฏิบัติเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรด้านการจัดการดินมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) เจ้าหน้าที่มีปัญหาการปฏิบัติงานส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ระดับปานกลาง ได้แก่ การประเมินความเสี่ยงของแปลงเกษตร การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการเกษตรและความสามารถในการติดต่อสื่อสาร 4) เจ้าหน้าที่ต้องการการส่งเสริม ด้านเกษตรอินทรีย์ระดับมาก ได้แก่ ความรู้ด้านการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน ทักษะการถ่ายทอดความรู้ บุคลิกลักษณะประจำตัวด้านการสื่อสาร ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อินเตอร์เน็ต ด้วยวิธีการฝึกปฏิบัติ และเพศ อายุ ระดับการศึกษา สาขาวิชาที่จบการศึกษาและประสบการณ์การทำงานส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความต้องการการส่งเสริม 5) แนวทางการพัฒนาเจ้าหน้าที่ ได้แก่ (1) ก่อนการปฏิบัติงาน โดยถ่ายทอดความรู้ จัดทำคู่มือ หลักสูตร e - learning (2) ขณะปฏิบัติงานโดยการสาธิต ฝึกปฏิบัติ สอนงานโดยพี่เลี้ยง และ (3) หลังการปฏิบัติงาน โดยติดตามประเมินผล ผ่านวิธีการฝึกอบรม สาธิต ฝึกปฏิบัติ ศึกษาดูงาน รวมทั้งติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาต่อไป |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13629 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659000893.pdf | 1.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.