Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13633
Title: Adoption of Trichoderma Utilization in Chili Cultivation for Farmers in Yom Sub-district, Tha Wang Pha District, Nan Province
การยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการปลูกพริกของเกษตรกรในตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
Authors: RUTHAIRAT INTARATIP
ฤทัยรัตน์ อินทรทิพย์
Nareerut Seerasarn
นารีรัตน์ สีระสาร
Sukhothai Thammathirat Open University
Nareerut Seerasarn
นารีรัตน์ สีระสาร
[email protected]
[email protected]
Keywords: การยอมรับ การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา การปลูกพริก
Adoption
Use of Trichoderma
Chili cultivation.
Issue Date:  24
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this research were to study 1) the social and economic 2) using Trichoderma in chili cultivation conditions of farmers.3) the knowledge of using Trichoderma in chili cultivation conditions of farmers 4) the adoption of Trichoderma utilization in chili cultivation for farmers. 5) problems and suggestions for the adoption of Trichoderma utilization in chili cultivation for farmers.The research was done by survey method. The population consisted of 200 Chili farmers in Yom Sub-district, Tha Wang Pha District, Nan Province who registered with the Department of Agricultural Extension in the production year of 2023. The 134-sample size was based on the Taro Yamane formula with an error value of 0.05 through a simple random sampling method. Structured interviews were used for data collection. Statistics used were frequency, percentage, minimum, maximum, mean, standard deviation, and ranking.The results indicated the following: 1) Most of the farmers were males. Their average age was 57.93 years and they had primary education. The average experience of growing chili was 11.59 years. Farmers attend training on the production and use of Trichoderma on average 1 time/year and also train on the use of Trichoderma with the District Agriculture Office. There was an average chili planting area of ​​1.69 rai. The average income from chili cultivation was 63,031.34 baht/year. The average production amount was 2,349.62 kilograms/rai. The average production cost was 23,514.92 baht/rai and self-funded.2) Farmers keep their own seeds, planting local chili varieties. The average experience of using Trichoderma in chili production was 2.49 years, Trichoderma was obtained from the Community Pest Management Center and found anthracnose or dried shrimp disease in chili cultivation. 3) Farmers of knowledge were the highest level in terms of using Trichoderma with the mixture, it should be used up immediately and don't keep it for next time. 4) Farmers of adoption of Trichoderma production were a high-level on issues regarding the use of Trichoderma in disease prevention and eradication, to use Trichoderma to control plant diseases caused by fungi on time. 5) Farmers were problems with the production of Trichoderma at a high level on the issue of producing germs, planning was required to keep up with the time and the use of Trichoderma in disease prevention and eradication. Farmers were suggestions for Trichoderma production. The aspect of using Trichoderma to prevent and eliminate disease is that officials should come in to advise or train on the correct production of Trichoderma on an ongoing basis. And farmers should use Trichoderma regularly to prevent and eliminate disease.
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในปลูกพริกของเกษตรกร 3) ความรู้เกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในปลูกพริกของเกษตรกร 4) การยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในปลูกของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในปลูกพริกของเกษตรกรการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกพริกในตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ที่ขึ้นทะเบียนกรมส่งเสริมการเกษตรปี 2566 จำนวน 200 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวนตัวอย่าง 134 ราย และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 57.93 ปี จบศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์การปลูกพริกเฉลี่ย 11.59 ปี เกษตรกรเข้าร่วมอบรมการผลิตและการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเฉลี่ย 1 ครั้ง/ปี และอบรมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มากับสำนักงานเกษตรอำเภอ มีพื้นที่ปลูกพริกเฉลี่ย 1.69 ไร่ รายได้จากการปลูกพริกเฉลี่ย 63,031.34 บาท/ปี ปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 2,349.62 กิโลกรัม/ไร่ มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 23,514.92 บาท/ไร่ และใช้ทุนตนเอง 2) เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เอง ปลูกพริกพันธุ์พื้นเมือง มีประสบการณ์ในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการผลิตพริกเฉลี่ย 2.49 ปี ได้เชื้อราไตรโคเดอร์มาจากศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน และพบโรคแอนแทรคโนส หรือโรคกุ้งแห้งในการปลูกพริก 3) เกษตรกรมีความรู้ด้านในใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาระดับมากที่สุด ประเด็นการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มากับส่วนผสมแล้วควรใช้ให้หมดทันที ไม่เก็บไว้ใช้ในครั้งต่อไป 4) เกษตรกรมีการยอมรับด้านการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาในอยู่ในระดับมาก ประเด็นด้านการนำเชื้อราไตรโคเดอร์มามาใช้ในการป้องกันกำจัดโรค ทำให้สามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราได้ทันเวลา 5) เกษตรกรมีปัญหาด้านการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาในระดับมาก ในประเด็นในการผลิตเชื้อต้องมีการวางแผนล่วงหน้าก่อน เพื่อให้ทันช่วงเวลาที่ต้องการใช้ และด้านการนำเชื้อราไตรโคเดอร์มามาใช้ในการป้องกันกำจัดโรค และเกษตรกรมีข้อเสนอแนะด้านการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา และด้านการนำเชื้อราไตรโคเดอร์มามาใช้ในการป้องกันกำจัดโรค คือ เจ้าหน้าที่ควรเข้ามาแนะนำหรืออบรมการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง และเกษตรกรควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอย่างสม่ำเสมอในการป้องกันกำจัดโรค
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13633
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659000968.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.