Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13637
Title: | การส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงของเกษตรกร ในตำบลภูเขาทอง อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด |
Other Titles: | Extension for peanut seed production of farmers in Phu Kao Thong Sub-district, Nong Phok District, Roi Et Province |
Authors: | พลสราญ สราญรมย์ ชัยภักดิ์ ศรีสุข มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ถั่วลิสง--เมล็ดพันธุ์ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทั่วไป สังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงของเกษตรกร 3) ความรู้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงของเกษตรกร 4) ความต้องการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสง การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสง ในตำบลภูเขาทอง อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด รอบปีการผลิต 2565/2566 จำนวนทั้งหมด 151 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 110 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรมากกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 52.78 ปีส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา เกษตรกรทั้งหมดประกอบอาชีพหลักด้านการเกษตร มีแรงงานในภาคการเกษตรเฉลี่ย 3.02 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 10.89 ไร่ โดยมีพื้นที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงฤดูฝนเฉลี่ย 1.64 ไร่ ฤดูแล้งเฉลี่ย 2.98 ไร่ 2) เกษตรกรทั้งหมดใช้เมล็ดพันธุ์ไทนาน 9 มีอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 18.95 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมีและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ มีการตรวจแปลงเพื่อตัดพันธุ์ปน และตากเมล็ดพันธุ์เพื่อลดความชื้นเฉลี่ย 4.23 วัน และปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 249.93 กิโลกรัมต่อไร่ 3) เกษตรกรมีความรู้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงในภาพรวมมีความรู้อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 15.60 คะแนน โดยมีความรู้มากที่สุดในประเด็นการให้น้ำถั่วลิสง และมีความรู้น้อยที่สุดในประเด็นการใส่ปุ๋ยเคมีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 4) เกษตรกรมีความต้องการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยอันดับ 1 ในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านองค์ความรู้ คือ เกษตรกรมีความต้องการในประเด็นโรคแมลงศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด ด้านวิธีการส่งเสริม คือ เกษตรกรมีความต้องการในประเด็นวิธีการส่งเสริมแบบกลุ่ม และด้านการให้บริการและสนับสนุน คือ เกษตรกรมีความต้องการในประเด็นการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีเพื่อผลิตและกระจายในรอบการผลิตต่อไป 5) ปัญหาของเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การขาดการฝึกอบรมการศึกษาดูงาน ปัญหาต้นทุนการผลิต ราคาผลผลิตไม่แน่นอน และขาดการสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิต ส่วนข้อเสนอแนะ เกษตรกรเห็นด้วยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ แก้ไขปัญหาต้นทุนการผลิต การสร้างความมั่นคงด้านราคา และสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการผลิต |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13637 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659001057.pdf | 1.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.