Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13647
Title: | แนวทางการพัฒนาศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์ |
Other Titles: | Development guideline of community pest management centers Uttaradit Province |
Authors: | จินดา ขลิบทอง สุวนันท์ จันทร์มณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐาน สังคม และเศรษฐกิจของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับศจช. 3) ปัญหาการดำเนินงานของศจช. 4) ความต้องการการส่งเสริมและแนวทางพัฒนาศจช.การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์ (ศูนย์หลัก) ปี 2565 จำนวน 9 ศูนย์ จำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 270 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 162 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกร้อยละ 75.3 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 57.49 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประสบการณ์การเป็นสมาชิกศูนย์เฉลี่ย 6.09 ปี สมาชิกทั้งหมดมีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 17.94 ไร่และร้อยละ 79.0 ถือครองที่ดินเป็นของตนเอง 2) ความคิดเห็นเกี่ยวศูนย์ฯ พบว่า สมาชิกศูนย์ฯเห็นด้วยในระดับมาก ในประเด็น วัตถุประสงค์ของศูนย์ฯ การบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ การสร้างและเชื่อมโยงเครือข่าย การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรและชุมชน องค์ประกอบของศูนย์ฯและการถ่ายทอดความรู้ 3) สมาชิกมีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์ฯ ในประเด็นวัตถุประสงค์ของศูนย์ การสร้างและเชื่อมโยงเครือข่าย และการบริหารจัดการศัตรูพืช 4) ความรู้ที่สมาชิกต้องการส่งเสริมในระดับมากที่สุด ได้แก่ การถ่ายทอดความรู้ การสร้างและเชื่อมโยงเครือข่าย ต้องการช่องทางการส่งเสริมจากหน่วยงานราชการ โปสเตอร์ อินเทอร์เน็ต ด้วยวิธีการฝึกปฏิบัติ 5) แนวทางพัฒนาศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนในจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้แก่ การขับเคลื่อนศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้และบริการด้านการศัตรูพืช มีวัสดุ อุปกรณ์และองค์ความรู้ที่ครบวงจร มีการจัดทำปฏิทินปลูกพืชและตารางการถ่ายทอดความรู้ที่ตรงกับความต้องการของสมาชิก โดยบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต้องสร้างความเชื่อมโยงเครือข่ายที่ทันสมัยผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต มีการจัดทำแปลงเรียนรู้ให้สมาชิกฝึกปฏิบัติ มีการแจ้งเตือนการระบาดอย่างต่อเนื่อง แม่นยำ ผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต เป็นสื่อโปสเตอร์ แผ่นพับและมีการศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์และนำมาปรับใช้และพัฒนาศูนย์ฯ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13647 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659001289.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.