Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13651
Title: | การส่งเสริมการผลิตลำไยนอกฤดูของสมาชิกแปลงใหญ่ในจังหวัดสระแก้ว |
Other Titles: | Extension of off-season longan production by collaborative farm members in Sa Kaeo Province |
Authors: | สุนันท์ สีสังข์ เปรมฤทัย ศรีภุมมา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พลสราญ สราญรมย์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ลำไย--ไทย--สระแก้ว--การผลิต ผลไม้นอกฤดู |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกแปลงใหญ่ลำไย 2) สภาพการผลิตลำไยของสมาชิกแปลงใหญ่ 3) ปัญหาการผลิตลำไยนอกฤดูของสมาชิกแปลงใหญ่ 4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตลำไยนอกฤดูของสมาชิกแปลงใหญ่ และ 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตลำไยนอกฤดูของสมาชิกแปลงใหญ่การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ คือ สมาชิกแปลงใหญ่ลำไยในจังหวัดสระแก้ว ที่เริ่มดำเนินการในปี 2564-2566 จังหวัดสระแก้ว จำนวน 180 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 124 ราย และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ นอกจากนี้ ก็มีการใช้การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคผลการวิจัย พบว่า 1) สมาชิกแปลงใหญ่มีอายุเฉลี่ย 58 ปี เป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่เฉลี่ย 3.29 ปี สมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 2.78 คน พื้นที่การปลูกลำไยเฉลี่ย 13 ไร่ ประสบการณ์ในการปลูกลำไยเฉลี่ย 7.67 ปี รายได้รวมจากการทำการเกษตรเฉลี่ย 277,919.35 บาทต่อปี รายจ่ายทำการเกษตรเฉลี่ย 135,104.84 บาทต่อปี 2) สมาชิกแปลงใหญ่ปลูกลำไยพันธุ์อีดอทั้งหมด ระยะร่อง 6 x 6 เมตร ใช้น้ำจากสระโดยการให้น้ำระบบสปริงเกอร์ มีการใช้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ การกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช โดยมีทั้งการใช้และไม่ใช้สารเคมี มีการตัดแต่งกิ่งลำไยหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ผลผลิตลำไยรวมเฉลี่ย 1,066.53 กิโลกรัมต่อไร่ โดยพ่อค้ารับซื้อลำไยในสวนขายแบบเหมาสวน 3) สมาชิกแปลงใหญ่มีปัญหาการผลิตลำไยนอกฤดูในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 4) สมาชิกแปลงใหญ่มีความต้องการความรู้เกี่ยวกับการผลิตลำไยนอกฤดูในระดับปานกลางและมาก และ 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตลำไยนอกฤดูของสมาชิกแปลงใหญ่ ประเด็นการส่งเสริม ได้แก่ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตลำไยนอกฤดู การสร้างเครือข่ายแปลงใหญ่ลำไย การสร้างความตระหนักของสมาชิกแปลงใหญ่ถึงประโยชน์ของกลุ่มการผลิตลำไย การผสานองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับผลงานวิจัยและหน่วยงานภาครัฐควรสนับสนุนปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13651 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659001370.pdf | 3.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.