Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13651
Title: An Extension of Off-season Longan Production by Collaborative Farm Members in Sa Kaeo Province
การส่งเสริมการผลิตลำไยนอกฤดูของสมาชิกแปลงใหญ่ในจังหวัดสระแก้ว
Authors: PRAMRUTHAI SRIPUMMA
เปรมฤทัย ศรีภุมมา
Sunan Seesang
สุนันท์ สีสังข์
Sukhothai Thammathirat Open University
Sunan Seesang
สุนันท์ สีสังข์
[email protected]
[email protected]
Keywords: การผลิตลำไยนอกฤดู เกษตรแปลงใหญ่ การส่งเสริมการเกษตร
Off-season longan production
Collaborative far
Agricultural extension
Issue Date:  25
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this research were to study 1) personal and socio-economic situations of collaborative farm members, 2) situations of longan production by collaborative farm members, 3) problems of off-season longan production by collaborative farm members, 4) needs in an extension of off-season longan production by collaborative farm members, and 5) an extension guideline of off-season longan production by collaborative farm members.This was a survey research, the population was 180 longan collaborative farm members in Sa Kaeo Province starting from the years 2021 to 2023. The sample size was determined by using Taro Yamane’s formula with an error of 0.05 level accounting of 124 samples.  The data were collected by using a structural interview and analyzed to determine frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, and ranking, SWOT analysis was also applied.The research findings showed that 1) collaborative farm members were average 58 years old and an average 3.29 years of longan production experience. They had averages of 2.78 household members, 13 rai of logan plantation, 7.67 years of collaborative member, 277,919.35 baht of annual total household income, and 135,104.84 annual farm expense. 2) They planted Edo variety with spacing 6x6 meters, applied water by sprinkler system from their own ponds, applied chemical and organic fertilizers, used chemical and non-chemical substances for controlling weeds and pests, and had branch and leave pruning after harvesting.  An average of yield was 1,066.53 kilogram per rai to be sold to merchant at the plantation site of all produces. 3) In overall, they indicated their problems of off-season longan production at moderate level. 4) Their needs in off-season longan production were stated at moderate to high levels. Furthermore 5) guideline for an extension of off-season longan production by collaborative farmers included the following aspects: technology and innovation of off-season logan production, network of longan collaborative farms, awareness of the members in collaborative farm usefulness, and integration of local wisdom and research results.  Moreover, the government agency should support quality production inputs.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกแปลงใหญ่ลำไย 2) สภาพการผลิตลำไยของสมาชิกแปลงใหญ่ 3) ปัญหาการผลิตลำไยนอกฤดูของสมาชิกแปลงใหญ่ 4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตลำไยนอกฤดูของสมาชิกแปลงใหญ่ และ 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตลำไยนอกฤดูของสมาชิกแปลงใหญ่การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ  คือ สมาชิกแปลงใหญ่ลำไยในจังหวัดสระแก้ว ที่เริ่มดำเนินการในปี 2564-2566 จังหวัดสระแก้ว จำนวน 180 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 124 ราย และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ นอกจากนี้ ก็มีการใช้การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคผลการวิจัย พบว่า 1) สมาชิกแปลงใหญ่มีอายุเฉลี่ย 58 ปี เป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่เฉลี่ย 3.29 ปี สมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 2.78 คน พื้นที่การปลูกลำไยเฉลี่ย 13 ไร่ ประสบการณ์ในการปลูกลำไยเฉลี่ย 7.67 ปี รายได้รวมจากการทำการเกษตรเฉลี่ย 277,919.35 บาทต่อปี รายจ่ายทำการเกษตรเฉลี่ย 135,104.84 บาทต่อปี  2) สมาชิกแปลงใหญ่ปลูกลำไยพันธุ์อีดอทั้งหมด ระยะร่อง 6 x 6 เมตร ใช้น้ำจากสระโดยการให้น้ำระบบสปริงเกอร์ มีการใช้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ การกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช โดยมีทั้งการใช้และไม่ใช้สารเคมี มีการตัดแต่งกิ่งลำไยหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ผลผลิตลำไยรวมเฉลี่ย 1,066.53 กิโลกรัมต่อไร่ โดยพ่อค้ารับซื้อลำไยในสวนขายแบบเหมาสวน 3) สมาชิกแปลงใหญ่มีปัญหาการผลิตลำไยนอกฤดูในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  4) สมาชิกแปลงใหญ่มีความต้องการความรู้เกี่ยวกับการผลิตลำไยนอกฤดูในระดับปานกลางและมาก  และ 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตลำไยนอกฤดูของสมาชิกแปลงใหญ่ ประเด็นการส่งเสริม ได้แก่ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตลำไยนอกฤดู การสร้างเครือข่ายแปลงใหญ่ลำไย การสร้างความตระหนักของสมาชิกแปลงใหญ่ถึงประโยชน์ของกลุ่มการผลิตลำไย การผสานองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับผลงานวิจัยและหน่วยงานภาครัฐควรสนับสนุนปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13651
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659001370.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.