Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13670
Title: | การถ่ายทอดความรู้การผลิตทุเรียนคุณภาพด้วยกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรจังหวัดระนอง |
Other Titles: | Knowledge transfer of quality durian production through the process of farmers field schools in Ranong Province |
Authors: | บำเพ็ญ เขียวหวาน พงศธร สุขอนันต์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ทุเรียน--คุณภาพ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพเศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) ความรู้ และแหล่งความรู้เกี่ยวกับการผลิตทุเรียนคุณภาพด้วยกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรของเกษตรกร 3) ความคิดเห็นต่อประโยชน์และความต้องการส่งเสริมการผลิตทุเรียนคุณภาพด้วยกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรของเกษตรกร 4) ความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานของโรงเรียนเกษตรกรในการผลิตทุเรียนคุณภาพของเกษตรกร 5) ปัญหา ข้อเสนอแนะ สภาพแวดล้อมภายใน ภายนอกและแนวทางการพัฒนาโรงเรียนเกษตรกรในการผลิตทุเรียนคุณภาพของเกษตรกร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จำนวน 5 ราย และ 2) เกษตรกรสมาชิกโรงเรียนเกษตรกรทุเรียน ที่เข้าร่วมอบรมโรงเรียนเกษตรกรในปี 2566 อำเภอละ 20 ราย มีประชากร 100 ราย รวมประชากรทั้งหมด 105 ราย ทำการเก็บข้อมูลทั้งหมด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สอบถาม และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการจัดหมวดหมู่ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 51.39 ปี สถานะสมรส จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นสมาชิกสถาบันกลุ่มเกษตรกร เกษตรกรมีสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 3.77 คน มีแรงงานที่มีประสบการณ์ในการทำสวนทุเรียนเฉลี่ย 2.43 คน ประสบการณ์ในการทำสวนทุเรียน 7.44 ปี พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 22.76 ไร่ เป็นเจ้าของพื้นที่ในการทำการเกษตรเอง รายได้จากการทำสวนทุเรียนเฉลี่ย 288,110.00 บาท/ปี และจำหน่ายให้ล้ง 2) เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนโรงเรียนเกษตรกร ร้อยละ 55.0 มีระดับความรู้ อยู่ระดับมาก รองลงมา ร้อยละ 41.0 มีระดับความรู้มากที่สุด แหล่งความรู้เกษตรกรได้รับจากสื่อบุคคลมากที่สุด รองลงมาคือ สื่อออนไลน์ 3) พบว่าเกษตรกรมีความคิดเห็นต่อประโยชน์ของโรงเรียนเกษตรกรภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดมากที่สุด รองลงมาด้านการสนับสนุน 4) เกษตรกรคิดเห็นต่อความเหมาะสมของโรงเรียนเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเห็นว่ากระบวนการจัดทำปฏิทินการผลิตทุเรียนคุณภาพ เหมาะสมที่สุด 5) ปัญหาของการถ่ายทอดความรู้ ด้านการผลิตอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยการผลิตมีราคาสูง เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ ภัยธรรมชาติ/โรคแมลง จุดแข็งที่สำคัญคือ สมาชิกโรงเรียนเกษตรกรสามารถออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ จุดอ่อนคือ สมาชิกโรงเรียนเกษตรกรยังยึดติดกับกระบวนการเรียนรู้แบบมีเจ้าหน้าที่เป็นวิทยากร โอกาสที่สำคัญคือ เป็นนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตร อุปสรรคคือ สภาพภูมิอากาศ แนวทางในการพัฒนาที่สำคัญ คือ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบโรงเรียนเกษตรกร และส่งเสริมการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13670 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659001875.pdf | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.