Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13685
Title: | ความต้องการส่งเสริมการผลิตพืชสมุนไพรของเกษตรกรในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา |
Other Titles: | Need for extension of herbal production of farmers in Bang Pakong District, Chachoengsao Province |
Authors: | พลสราญ สราญรมย์ รวิสรา เสนาธง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ พืชสมุนไพร--การผลิต การทำไร่สมุนไพร--ไทย--ฉะเชิงเทรา |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไป สภาพทางสังคม และสภาพทางเศรษฐกิจของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางปะกง 2) ความคิดเห็นของเกษตรเกี่ยวกับการผลิตพืชสมุนไพร 3) ความรู้การผลิตพืชสมุนไพรของเกษตรกร 4) ความต้องการส่งเสริมการผลิตพืชสมุนไพรของเกษตรกร 5) วิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการผลิตพืชสมุนไพรที่เหมาะสมกับเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางปะกง ประชากรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ผลิตพืชในพื้นที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรในปีการผลิต ในปี 2566/2567 จำนวน 523 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ โดยยอมให้มีความคลาดเคลื่อนได้ 0.07 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 147 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลากรายชื่อเกษตรกรตามสัดส่วนที่กำหนด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 56.53 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เกษตรส่วนใหญ่มีทั้งอาชีพหลักและอาชีพรอง เป็นอาชีพเกษตรกร ลักษณะการถือครองที่ดินทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เช่า เฉลี่ย 35.47ไร่ มีรายได้จากการทำการเกษตรเฉลี่ย 5,631.63 บาทต่อไร่ มีรายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 132,395.82 บาทต่อปี มีหนี้สินครัวเรือนเฉลี่ย 188,925.93 บาท เกษตรกรร้อยละ 32.7 มีประสบการณ์ปลูกพืชผัก เกษตรกรเกินครึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ปลูกพืชสมุนไพรตามนโยบายส่งเสริมสมุนไพร Herbal champion แต่เกษตรกรร้อยละ 58.5 เคยได้รับความรู้ด้านการผลิตพืชสมุนไพร 2) ความคิดเห็นโดยรวมเกี่ยวกับการผลิตพืชสมุนไพรในพื้นที่อำเภอบางปะกงอยู่ในระดับน้อย ทั้งด้านสภาพพื้นที่ที่เหมาะสม ด้านอำนาจการตัดสินใจ ด้านความพร้อมในการผลิตของเกษตร 3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตพืชสมุนไพรของเกษตรกรพบว่าประเด็นที่เกษตรกรมีความรู้มากที่สุดคือความรู้ด้านการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร และประเภทและชนิดของพืชสมุนไพร และประเด็นที่เกษตรกรมีความรู้น้อยที่สุดคือความรู้ด้านการปลูกและการขยายพันธุ์ การดูแลบำรุงรักษา และการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่เหมาะสม 4) ความต้องการส่งเสริมฯโดยรวมของเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าด้านผู้ส่งเสริมต้องการรับการส่งเสริมอันดับหนึ่งจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริม ด้านเนื้อหาต้องการรับการส่งเสริมอันดับหนึ่งเกี่ยวกับวิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ถูกต้องตรงตามความต้องการของตลาด ด้านวิธีการต้องการการส่งเสริมอันดับหนึ่งแบบกลุ่ม 5) แนวทางการส่งเสริมจากการวิเคราะห์ของผู้วิจัยได้แก่ การส่งเสริมโดยเน้นที่การประชุมกลุ่มเป็นหลัก จัดการอบรมให้ความรู้ด้านเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญของการผลิตพืชสมุนไพรตามนโนบาย และความรู้เกี่ยวกับการวิธีการปลูก การขยายพันธุ์ การเก็บเกี่ยวผลผลิตที่เป็นที่ต้องการของตลาดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม โดยผ่านทางเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13685 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659002121.pdf | 977.05 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.