Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13685
Title: Need for Extension of Herbal Production of Farmers in Bang Pakong District, Chachoengsao Province 
ความต้องการส่งเสริมการผลิตพืชสมุนไพรของเกษตรกรในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
Authors: RAWISARA SENATHONG
รวิสรา เสนาธง
Ponsaran Saranrom
พลสราญ สราญรมย์
Sukhothai Thammathirat Open University
Ponsaran Saranrom
พลสราญ สราญรมย์
[email protected]
[email protected]
Keywords: แนวทางการส่งเสริม ความต้องการ การผลิตพืชสมุนไพร สมุนไพร Herbal champion
Extension guideline
need
herbal plant production
Herbal champion herb
Issue Date:  25
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this research were to study 1) general, social, and economic conditions of farmers in the area of Bang Pakong district 2) opinions of farmers regarding herbal plant production 3) knowledge regarding herbal plant production of farmers 4) needs for extension on herbal plant production of farmers 5) the analysis of extension guidelines regarding the appropriate herbal plant production of farmers in the area of Bang Pakong district.                     The population in this research was 523 plant production farmers in the area of Bang Pakong district, Chachoengsao province who had registered with the department of agricultural extension in the production year 2023/2024. The sample size of 147 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.07 through simple random sampling method. The data was then brought for analysis by using statistics in the research such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, and ranking.                      The results of the research found that 1) more than half of the farmers were male with the average age of 56.33 years old. Most of them were married, completed lower secondary school education, and had both main and secondary occupation as farmers. The characteristics of agricultural land ownership were mostly the rental area of 35.47 Rai on average. They earned the average income from agricultural work of  5,631.63 Baht/Rai, earned the income from outside of agricultural sector was  132,395.82 Baht/year, and had the average household liabilities of   188,925.93 Baht. 32.7% of them had the experience in vegetable production. More than half of the farmers never had experience in herbal plant production as per the herbal plant promotion policy Herbal champion.  However, 58.5% people received knowledge regarding herbal plant production.  2) Opinions, overall, of herbal plant production in the area of Bang Pakong district were at the low level in appropriate area condition, the decision making power, and the readiness in the production of farmers. 3) Knowledge about the production of herbal plants of farmers found that the aspect farmers had the knowledge at the highest level was the knowledge from utilizing the herbs. The category and types of herbal plants. The aspect that farmers had knowledge the least was on knowledge about production and expansion, the maintenance, and the appropriate harvest. 4) Needs for extension, overall, of farmers were at the moderate level. They found out that regarding the extensionists, they needed to receive the extension at the first aspect on agricultural extension officer. Regarding the content, they needed the extension at the first priority about correct product harvesting method as per the needs of the market. For the method, the extension needed at the first ranking was group extension. 5) Promotion guidelines from the researcher's analysis include promotion with a focus on group meetings, organizing training to provide knowledge on content related to the importance of Herbal champion herb according to policy, and knowledge about planting methods, propagation, and harvesting products that are in demand in the market correctly and appropriately, including appropriate resource management through agricultural extension officers in the area.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไป สภาพทางสังคม และสภาพทางเศรษฐกิจของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางปะกง 2) ความคิดเห็นของเกษตรเกี่ยวกับการผลิตพืชสมุนไพร 3) ความรู้การผลิตพืชสมุนไพรของเกษตรกร 4) ความต้องการส่งเสริมการผลิตพืชสมุนไพรของเกษตรกร 5) วิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการผลิตพืชสมุนไพรที่เหมาะสมกับเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางปะกง ประชากรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ผลิตพืชในพื้นที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรในปีการผลิต ในปี 2566/2567 จำนวน 523  ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ โดยยอมให้มีความคลาดเคลื่อนได้ 0.07 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 147 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลากรายชื่อเกษตรกรตามสัดส่วนที่กำหนด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 56.53 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เกษตรส่วนใหญ่มีทั้งอาชีพหลักและอาชีพรอง เป็นอาชีพเกษตรกร ลักษณะการถือครองที่ดินทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เช่า เฉลี่ย 35.47ไร่ มีรายได้จากการทำการเกษตรเฉลี่ย 5,631.63 บาทต่อไร่ มีรายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 132,395.82 บาทต่อปี มีหนี้สินครัวเรือนเฉลี่ย 188,925.93 บาท เกษตรกรร้อยละ 32.7 มีประสบการณ์ปลูกพืชผัก เกษตรกรเกินครึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ปลูกพืชสมุนไพรตามนโยบายส่งเสริมสมุนไพร Herbal champion  แต่เกษตรกรร้อยละ 58.5 เคยได้รับความรู้ด้านการผลิตพืชสมุนไพร 2) ความคิดเห็นโดยรวมเกี่ยวกับการผลิตพืชสมุนไพรในพื้นที่อำเภอบางปะกงอยู่ในระดับน้อย ทั้งด้านสภาพพื้นที่ที่เหมาะสม ด้านอำนาจการตัดสินใจ ด้านความพร้อมในการผลิตของเกษตร 3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตพืชสมุนไพรของเกษตรกรพบว่าประเด็นที่เกษตรกรมีความรู้มากที่สุดคือความรู้ด้านการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร และประเภทและชนิดของพืชสมุนไพร และประเด็นที่เกษตรกรมีความรู้น้อยที่สุดคือความรู้ด้านการปลูกและการขยายพันธุ์ การดูแลบำรุงรักษา และการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่เหมาะสม 4) ความต้องการส่งเสริมฯโดยรวมของเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าด้านผู้ส่งเสริมต้องการรับการส่งเสริมอันดับหนึ่งจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริม ด้านเนื้อหาต้องการรับการส่งเสริมอันดับหนึ่งเกี่ยวกับวิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ถูกต้องตรงตามความต้องการของตลาด ด้านวิธีการต้องการการส่งเสริมอันดับหนึ่งแบบกลุ่ม 5) แนวทางการส่งเสริมจากการวิเคราะห์ของผู้วิจัยได้แก่ การส่งเสริมโดยเน้นที่การประชุมกลุ่มเป็นหลัก จัดการอบรมให้ความรู้ด้านเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญของการผลิตพืชสมุนไพรตามนโนบาย และความรู้เกี่ยวกับการวิธีการปลูก การขยายพันธุ์ การเก็บเกี่ยวผลผลิตที่เป็นที่ต้องการของตลาดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม โดยผ่านทางเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13685
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659002121.pdf977.05 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.