Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13707
Title: แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนไทยฮอนด้า จำกัด กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Guidelines for improving operational efficiency of ThaiHonda Credit Union Cooperative Limited, Krung Thep Maha Nakhon
Authors: ส่งเสริม หอมกลิ่น
นัจรินทร์ อัมพรมหา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนไทยฮอนด้า--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนไทยฮอนด้า จำกัด 2) วิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ และ 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของสหกรณ์ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานทางการเงินของสหกรณ์และผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ในปีบัญชี 2562 – 2566 โดยวิธีการวิเคราะห์ตามแนวดิ่ง แนวโน้ม และการวิเคราะห์ในมุมมอง 6 มิติ โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดำเนินงานกับค่าเฉลี่ยสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขนาดใหญ่มากจากฐานข้อมูลของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินในช่วงปี 2562 – 2566 สหกรณ์มีกำไรขั้นต้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต้นทุนเงินทุนลดลง  แต่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีแนวโน้มสูงต่ำสลับกัน กำไรสุทธิไม่คงที่ แปรผันไปตามค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน  สหกรณ์ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ส่วนใหญ่เป็นเงินสดและเงินฝากธนาคาร และเงินให้กู้ยืมระยะสั้น สหกรณ์มีหนี้สินหมุนเวียนมากกว่าหนี้สินไม่หมุนเวียน ส่วนใหญ่เป็นเงินรับฝากสมาชิก และทุนของสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นทุนเรือนหุ้น โดยสหกรณ์มีหนี้สินน้อยกว่าทุนของสหกรณ์  2) ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ มิติที่ 1 ความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยง สหกรณ์มีอัตราหนี้สินต่อทุนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของทุนสูงกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 2 คุณภาพของสินทรัพย์  อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์สูงกว่าค่าเฉลี่ย แต่อัตราการเติบโตของสินทรัพย์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 3 ขีดความสามารถในการบริหาร อัตราการเติบโตของธุรกิจสูงกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 4 การทำกำไร อัตราค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และอัตรากำไรสุทธิสูงกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 5  สภาพคล่อง อัตราส่วนทุนหมุนเวียนสูงกว่าค่าเฉลี่ย และมิติที่ 6  ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภายนอก สหกรณ์ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายรัฐบาล และเทคโนโลยีน้อยเนื่องจากเป็นสหกรณ์ในสถานประกอบการ แต่กระทบด้านจำนวนสมาชิกลดลงจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม และ 3) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของสหกรณ์ที่สำคัญ ได้แก่ (1) เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ เนื่องจากสมาชิกเกษียณ์อายุจำนวนมากอัตราการเติบโตของธุรกิจต่ำ สหกรณ์ต้องวางแผนเพื่อบริหารสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น โดยลงทุนในสินทรัพย์ที่มีคุณภาพดีเพิ่มมากขึ้น (2) ขยายเงื่อนไขการให้เงินกู้เพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ และ (3) ขยายธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายเพิ่มมากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13707
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659002741.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.