Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13708
Title: | Aromatic Coconuts Production Management of Collaborative Farming Aromatic Coconut Farmers Group, Ko San Phra Subdistrict, Wat Phleng District, Ratchaburi Province การจัดการการผลิตมะพร้าวน้ำหอมของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ มะพร้าวน้ำหอม ตำบลเกาะศาลพระ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี |
Authors: | Siriporn Boonpen ศิริพร บุญเพ็ญ Sujja Banchongsiri สัจจา บรรจงศิริ Sukhothai Thammathirat Open University Sujja Banchongsiri สัจจา บรรจงศิริ [email protected] [email protected] |
Keywords: | มะพร้าวน้ำหอม การจัดการการผลิต แปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม Aromatic coconut Crop production management Collaborative Farming farm aromatic coconut |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The objectives of the independent study were to study 1) the socio-economic situation of the farmers’ group members, 2) their aromatic coconut production management, and 3) problems and suggestions for the group members' production management.This research method consisted of the collection of primary data by survey research. In 2023/24 there were 34 farmers who were registered with the Department of Agricultural Extension as members of the collaborative farming aromatic coconut farmers group in Ko San Phra Subdistrict, Wat Phleng District, Ratchaburi Province, and data were gathered from all 34. The data were gathered by questionnaires, and the quantitative data were analysed using descriptive statistics such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean and standard deviation. The content analysis method was used to analyse the qualitative data.The findings indicate that 1) the majority of farmers were female with an average age greater than 61, a high school education, an average of 16.56 years of coconut production experience, an average of four household members, an average of two family labours engaged in farming, an average of two hired labours, average coconut farm size of 22.96 rai (3.67 hectares), owned their own land, used their own capital, and the average cost of production was 5,408.48 baht per rai (1 rai=1,600 m2). 2) The soil in the study area was clay soil. The typical production management consisted of single-row planting ridges, planting holes measuring 0.5x0.5x0.5 meters, planting depth less than 0.15 meters, and planting distance of 6x6 meters. The coconut variety was “Hmu si kheiyw” obtained from a reputable source, with five-month-old seedlings and an average planting rate of 40.79 seedlings per rai. For farm management, half of the farmers conducted one soil sample analysis and all watered an average of 5.26 times per month by spraying from boats and applied organic and chemical fertilizers within the drip line. Top rot and fruit drop were reported as problematic diseases, and coconut beetles, squirrels, and mice were the main pests. Some farmers dug up the mud and added an average of 30.50 kilograms of salt per rai. Harvesting started 2-3 years after planting, and coconuts were harvested every 20 days. Middlemen set the market price. Most farmers did not contribute capital to the collaborative farmers group. Farmers did not do any sales promotion. In addition, over half of the farmers did not keep productivity records. 3) The fundamental problems included (1) high production cost there are suggestions for the group to consolidate to purchase production factors, produce their own fertilizer, and manage agricultural residues; (2) production issues caused by unstable weather and pest outbreaks the public and private sectors should promote knowledge and innovation, and farmers should monitor their fields to prevent insect infestations; (3) issues with marketing management farmer groups should be formed to negotiate sales contracts with the commercial sector, and the government should provide training on coconut processing to increase the value of the yields; and (4) issues with group management the collaborative group committee should raise awareness so members understand their significance within the group. การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมและเศรษฐกิจ 2) การจัดการการผลิตมะพร้าวน้ำหอม และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะการจัดการการผลิตของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษาคือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม ตำบลเกาะศาลพระ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2566/67 จำนวน 34 ราย เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุมากกว่า 61 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประสบการณ์ในการปลูกมะพร้าวเฉลี่ย 16.56 ปี สมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน แรงงานภาคเกษตรเฉลี่ย 2 คน การจ้างแรงงานเฉลี่ย 2 คน จำนวนพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 22.96 ไร่ เป็นที่ดินตนเอง ใช้เงินทุนตนเอง ต้นทุนการผลิต 5,408.48 บาทต่อไร่ 2) การจัดการการผลิตมะพร้าวพื้นที่ปลูกเป็นดินเหนียว มีการยกร่องปลูกแบบแถวเดี่ยว ขนาดหลุมปลูก 0.5x0.5x0.5 เมตร ปลูกต่ำกว่าปากหลุม 0.15 เมตร ระยะปลูก 6x6 เมตร ปลูกมะพร้าวพันธุ์หมูสีเขียว ซื้อกล้าจากแหล่งที่เชื่อถือได้ อายุต้นพันธุ์ 5 เดือน อัตราปลูกเฉลี่ย 40.79 ต้นต่อไร่ ครึ่งหนึ่งของเกษตรกรมีการส่งวิเคราะห์ดิน ให้น้ำเฉลี่ย 5.26 ครั้งต่อเดือน โดยเรือพ่นน้ำ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีโดยหว่านรอบทรงพุ่ม พบโรคยอดเน่าและผลร่วง แมลงที่พบด้วงมะพร้าว สัตว์ศัตรูที่พบคือกระรอก หนู ส่วนหนึ่งมีการลอกเลนและใส่เกลือแกงเฉลี่ย 30.50 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตเมื่อปลูก 2-3 ปี ตัดผลผลิตทุก 20 วัน พ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดราคา เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการสมทบทุนเข้าร่วมโครงการแปลงใหญ่ เกษตรกรไม่มีการส่งเสริมการขาย และเกินครึ่งหนึ่งของเกษตรกรไม่มีการบันทึกข้อมูลการผลิต 3) ปัญหาที่พบ ได้แก่ (1) ต้นทุนในการผลิตสูง มีข้อเสนอแนะให้รวมกลุ่มกันซื้อปัจจัยการผลิต ทำปุ๋ยใช้เอง และจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (2) ปัญหาด้านการผลิตจากสภาพอากาศที่แปรปรวน และศัตรูพืชระบาด มีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐและเอกชนสนับสนุนองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ทันสมัย และเกษตรกรควรดูแลตรวจแปลงป้องกันการระบาดของศัตรูพืช (3) ปัญหาด้านการจัดการตลาด เกษตรกรไม่มีอำนาจต่อรองราคาและไม่มีการส่งเสริมการขาย มีข้อเสนอแนะควรรวมกลุ่มกันเพื่อทำสัญญาซื้อขายกับเอกชนและหน่วยงานรัฐร่วมบูรณาการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้า (4) ปัญหาด้านการจัดการกลุ่ม เกษตรกรยังไม่ให้ความสำคัญในการร่วมกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่ม มีข้อเสนอแนะให้คณะกรรมการแปลงใหญ่ สร้างการรับรู้และทำความเข้าใจกับสมาชิกให้เห็นถึงความสำคัญของกลุ่ม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13708 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659002782.pdf | 2.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.