Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13725
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการแรงงานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน
Other Titles: Factors Influencing Demand for Labor among Electronic Sectors in Northern Region Industrial Estate, Lamphun
Authors: พัชรี ผาสุข
ธนัช ยอดวงค์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
อุปสงค์แรงงาน
อุปทานแรงงาน
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์--ไทย--ลำพูน
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะตลาดแรงงานและการจ้างงานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการแรงงานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูนประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารในระดับผู้จัดการและหัวหน้างานโรงงานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน ทั้งสิ้น 12 โรงงาน จำนวน21,403 คน มีจำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยจำนวน 201 คน ซึ่งคำนวณด้วยโปรแกรมสถิติ  จี เพาเวอร์ โดยกำหนดตัวแปรศึกษาทั้งสิ้น 30 ตัวแปร ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ด้วยสถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ แบบจำลองถดถอยด้วยวิธีโมเมนต์ในรูปแบบทั่วไปผลการศึกษา พบว่า 1)นิคมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่มีความต้องการต้องการแรงงานเพศหญิงมากกว่าเพศชายโดยต้องการแรงงานที่มีประสบการณ์และมีสัญชาติไทย ในช่วงอายุระหว่าง 26 - 30 ปี มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สำหรับตำแหน่งงานที่ต้องการจ้างงานมากที่สุดคือฝ่ายผลิต โดยมีค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 9,000 บาทต่อเดือน ใช้การจัดสรรหาแรงงานด้วยการเปิดรับเองโดยมีผู้มาสมัครที่สถานประกอบการ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจ้างแรงงานของนิคมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อายุของแรงงาน ระดับการศึกษาของแรงงาน ประสบการณ์การทำงานของแรงงาน สัญชาติของแรงงาน ค่าจ้างแรงงาน และ ขนาดของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13725
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2616000895.pdf949.24 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.