กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13728
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorพิทักษ์ ศรีสุขใสth_TH
dc.contributor.authorไชยยานนท์ ตาอ้ายเทือกth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2025-01-24T09:02:16Z-
dc.date.available2025-01-24T09:02:16Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13728en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566th_TH
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตลาดหลักทรัพย์ไทยกับสินทรัพย์อื่น ๆ 2) ศึกษาการส่งผ่านความผันผวนจากสินทรัพย์อื่น ๆ มายังตลาดหลักทรัพย์ไทย 3) ศึกษาความสัมพันธ์ดุลยภาพระยะยาวระหว่างตลาดหลักทรัพย์ไทยกับสินทรัพย์อื่นๆ งานวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการทางเศรษฐมิติสำคัญได้แก่ การทดสอบ Granger Causality การทดสอบการส่งผ่านความผันผวนด้วยวิธี BEKK-GARCH การทดสอบความสัมพันธ์ดุลยภาพระยะยาวแบบสมการเดียว และการทดสอบความสัมพันธ์ดุลยภาพระยะยาวแบบหลายสมการ โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาถูกแบ่งออกเป็นสองช่วง ได้แก่ ช่วงก่อนเกิดสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 (ปี 2018 – 2019) และช่วงระหว่างสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 (ปี 2020 – 2021)ผลการศึกษาในช่วงก่อนสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 พบว่า 1) ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ดัชนีเอฟทีเอสอี และทองคำ เป็นสาเหตุที่ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยมีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ 2) ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ดัชนีเอฟทีเอสอี และน้ำมันดิบ สามารถส่งผ่านความผันผวนต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยได้ นอกจากนี้ 3) ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ น้ำมันดิบ ทองคำ ดัชนีตราสารหนี้ไทยมีความสัมพันธ์ดุลยภาพระยะยาวแบบสมการเดียว ในขณะที่กลุ่มตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาทั้งหมดมีความสัมพันธ์ดุลยภาพระยะยาวแบบหลายสมการ ผลการศึกษาในช่วงระหว่างวิกฤตโควิด-19 พบว่า 1) ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ทองคำ และดัชนีตราสารหนี้ไทย เป็นสาเหตุที่ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยมีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ 2) ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ดัชนีเอฟทีเอสอี และน้ำมันดิบ สามารถส่งผ่านความผันผวนต่อตลาดหลักทรัพย์ไทยได้ นอกจากนี้ 3) ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ดัชนีเอฟทีเอสอี ดัชนีนิเคอิ น้ำมันดิบ บิทคอยน์ และดัชนีตราสารหนี้ไทยมีความสัมพันธ์ดุลยภาพระยะยาวแบบสมการเดียว ในขณะที่กลุ่มตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาทั้งหมด กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ และกลุ่มตราสารหนี้มีความสัมพันธ์ดุลยภาพระยะยาวแบบหลายสมการ ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลสำคัญที่จะนำไปสู่การบริหารสินทรัพย์การลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยth_TH
dc.subjectการระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020---แง่เศรษฐกิจth_TH
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกับสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ๆ ในช่วงก่อนและระหว่างการเกิดสถานการณ์วิกฤตโควิด – 19th_TH
dc.title.alternativeRelationship Between The Stock Exchange of Thailand and Other Financial Assets, Before and During the Covid-19 Crisisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to analyze 1)the causal relationship between the Stock Exchange of Thailand (SET) and other assets, 2)the volatility spillover from other assets to the SET, and 3) the long-run relationship between the SET and other assets.This research study employed econometric methods, such as Granger causality test, a volatility spillover test using the BEKK-GARCH model, a single-equation cointegration test, and a multivariate cointegration test. The data in the study was divided into two periods: before the COVID-19 crisis period (2018–2019) and during the COVID-19 crisis period (2020–2021).The results showed that, before the COVID-19 period, 1) the Dow Jones Industrial Average (DJI) index, FTSE index, and gold significantly Granger-caused the SET index. 2) The DJI index, FTSE index, and crude oil could transmit volatility to the SET index. Additionally, 3) the DJI index, crude oil, gold, and the Thai bond index (TBCM) existed in long-run relationships in a single-equation model, while all variables in this study existed in long-run relationships in a multivariate model. During the COVID-19 crisis, 1) foreign equities, gold, and the TBCM significantly Granger-caused the SET index. 2) The DJI index, FTSE index, and crude oil could transmit volatility to the SET index. Additionally, 3) The DJI index, FTSE index, Nikkei index, crude oil, Bitcoin, and the TBCM existed in long-run relationships in a single-equation model, while all variables in this study, commodities, and debt instrument existed in long-run relationships in a multivariate model. These findings provided important insights into investment assets which could be useful for effective management of the assets.en_US
dc.contributor.coadvisorภูดินันท์ อดิทิพยางกูรth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2636000149.pdf2.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น