Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13741
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตมังคุดในประเทศไทย |
Other Titles: | Factors influencing the mangosteen production in Thailand |
Authors: | เฉลิมพล จตุพร เบญจรัตน์ โตแดง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มังคุด--ไทย--การผลิต การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์การผลิต การตลาดและการค้า จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคด้านการค้ามังคุดของประเทศไทย และ (2) วิเคราะห์ปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อการผลิตมังคุดในประเทศไทยการศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิมีลักษณะเป็นข้อมูลแบบอนุกรมเวลาย้อนหลังรายไตรมาส เริ่มตั้งแต่ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2555 - ไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2566 รวมข้อมูลทั้งสิ้น 48 ไตรมาส โดยการสร้างสมการถดถอยพหุคูณด้วยวิธีลดรูปตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตมังคุด ในประเทศไทย มีตัวแปรอิสระ ได้แก่ ราคามังคุด ราคาทุเรียน ราคาลำไย ราคาปุ๋ย ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย อุณหภูมิเฉลี่ย ฤดูกาล และตัวแปรตามการผลิตมังคุด ในประเทศไทย ทั้งนี้ จะมีการตรวจสอบปัญหาตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์เชิงเส้น ปัญหาตัวคลาดเคลื่อน มีสหสัมพันธ์กัน และปัญหาตัวคลาดเคลื่อนมีความแปรปรวนไม่คงที่่ เพื่อป้องกันการละเมิดข้อสมมติจากการประมาณค่าสัมประสิทธิ์ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดผลการศึกษาพบว่า (1) ประเทศไทยเป็นประเทศเพาะปลูกมังคุดที่สำคัญของโลก ปัจจุบันปริมาณผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งผลผลิตมังคุดจะออกสู่ตลาดมากในช่วงไตรมาสที่ 2 ถึง ไตรมาสที่ 3 ของปี โดยในปี พ.ศ. 2566 ประเทศไทยมีปริมาณผลผลิตมังคุดทั้งหมด 271,004 ตัน ทั้งนี้ ประเทศไทยถือเป็นประเทศผู้ส่งออกมังคุดรายใหญ่ของโลก มากกว่าร้อยละ 80 ของปริมาณผลผลิตมังคุดทั้งหมดถูกส่งออกไปขายในต่างประเทศทั้งในรูปของผลสดและผลแช่แข็ง มีตลาดส่งออกที่สำคัญ 3 ลำดับแรก ได้แก่ จีน ฮ่องกง และเวียดนาม ตามลำดับ (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตมังคุดในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย ปริมาณน้ำฝน ราคามังคุด และราคาลำไย ส่วนปัจจัยราคาทุเรียน ราคาปุ๋ย และอุณภูมิเฉลี่ย จากการทดสอบพบว่าไม่มีอิทธิพลต่อการผลิตมังคุดในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ ตัวแปรอิสระที่นำมาใช้ในครั้งนี้สามารถอธิบายแบบจำลองปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตมังคุดในประเทศไทยได้ร้อยละ 88.40 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13741 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2656000433.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.