Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13764
Title: | ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของกลุ่มก่อนวัยสูงอายุ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย |
Other Titles: | Effects of a Self-management Program to Prevent Osteoarthritis of the Pre-aging in Mueang Nong Khai District, Nong Khai Province |
Authors: | นภาเพ็ญ จันทขัมมา อรสา จุลโสม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน องค์อร ประจันเขตต์ |
Keywords: | กลุ่มก่อนวัยสูงอายุ โปรแกรม พฤติกรรมการจัดการตนเอง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน--วิทยานิพนธ์ |
Issue Date: | 2567 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ก่อนและหลังใช้โปรแกรมฯของกลุ่มทดลองและระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบหลังใช้โปรแกรมการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มก่อนวัยสูงอายุ เลือกมาโดยการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดของ เครียร์ (Creer,2000) ที่เน้นกิจกรรมการปรับพฤติกรรมการใช้เข่า การออกกำลังกายเพื่อบริหารกล้ามเนื้อขาและการลดความรุนแรงของของโรคข้อเข่าเสื่อม ใช้เวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วและข้อมูลสุขภาพ พฤติกรรกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม การประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา การประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งผ่านการตรวจสอบ ความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา.99 หาค่าความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามพฤติกรรมได้ .65 และแบบประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมได้.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติทดสอบทีผลการวิจัยพบว่า หลังใช้โปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ดีกว่าก่อนการใช้โปรแกรมฯ และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังใช้โปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมไม่แตกต่างกันจากก่อนใช้โปรแกรม และไม่แตกต่างกันจากกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2567 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13764 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2645100468.pdf | 2.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.