Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13773
Title: | การสำรวจภาวะสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียนโรงเรียนอนุบาลเทศบาลบางเมืองจังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Survey of mental health conditions among School-aged Children at Kindergarten Bang Muang Municipality, Samut Prakan Province |
Authors: | อารยา ประเสริฐชัย สุภาภรณ์ สังข์ทอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อนัญญา ประดิษฐปรีชา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--วิทยานิพนธ์ สุขภาพจิตเด็ก--ไทย--สมุทรปราการ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินปัจจัยด้านตัวเด็กวัยเรียน ปัจจัยด้านครอบครัว และปัญหาภาวะสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียน และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านตัวเด็กวัยเรียน ปัจจัยด้านครอบครัวกับปัญหาภาวะสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียน ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ ประชากรที่ศึกษา คือ เด็กวัยเรียนที่มีอายุ 6 ถึง 12 ปี ชั้นประถมศึกษาที่เข้าระบบการศึกษาในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการจำนวน 318 คน ศึกษาทุกหน่วยประชากร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยด้านตัวเด็กวัยเรียนปัจจัยด้านครอบครัว และแบบทดสอบปัญหาภาวะสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียน มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานโดยสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า 1) เด็กวัยเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 50.6 มีจำนวนพี่น้องสองคน ร้อยละ 44.1 เป็นบุตรคนแรก ร้อยละ 45.3 มีผลการเรียนเกรดเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.00-4.00 ครอบครัวของเด็กวัยเรียนมีรายได้ส่วนมากไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน ผู้ปกครองเด็กจบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้าง บิดา-มารดา อาศัยอยู่ร่วมกัน และสมาชิกในครอบครัวให้ความสนใจ ไว้วางใจ เอาใจใส่ซึ่งกันและกันในระดับดี เด็กวัยเรียนไม่มีปัญหาภาวะสุขภาพจิตหรือมีปัญหาภาวะสุขภาพจิตในระดับน้อย ร้อยละ 94.3 โดยพบว่า เด็กวัยเรียนมีปัญหาด้านการเรียน ร้อยละ 5.7 มีปัญหาด้านพฤติกรรมเด็ก ร้อยละ 1.4 และ 2) อายุ ระดับการศึกษาผลการเรียน เพศ และอาชีพผู้ปกครองของเด็กวัยเรียน มีความสัมพันธ์กับปัญหาภาวะสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น ผู้ปกครอง ครู หรือผู้ดูแลเด็กวัยเรียน ควรมีการประเมินคัดกรองเด็กวัยเรียนซ้ำอย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง จัดให้ มีการส่งเสริมสุขภาพจิตเพื่อเป็นการค้นหาปัญหาและเฝ้าระวังปัญหาภาวะสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13773 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2635000066.pdf | 3.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.