Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13775
Title: การพัฒนาตัวแบบการจัดการรองรับสังคมสูงวัย จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Development of a management model to support an aging society in Pathum Thani Province
Authors: เอกพล กาละดี
ประกาศ เปล่งพานิชย์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วรางคณา จันทร์คง
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--วิทยานิพนธ์
การสูงวัยของประชากร--ไทย--ปทุมธานี--การจัดการ
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  ศึกษาสภาพปัญหาของพื้นที่และกลไกการจัดการรองรับสังคมสูงวัยในปัจจุบันของจังหวัดปทุมธานี  2)  ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคต่อการจัดการรองรับสังคมสูงวัย 3)  ศึกษาข้อเสนอเพื่อการจัดการรองรับสังคมสูงวัย  และ 4) พัฒนาและประเมินผลตัวแบบการจัดการรองรับสังคมสูงวัยจังหวัดปทุมธานีการวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ แบ่งเป็น  3  ระยะ  ประกอบด้วย  ระยะที่  1  ศึกษาสภาพปัญหาของพื้นที่และกลไกการจัดการรองรับสังคมสูงวัย จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคต่อการจัดการรองรับสังคมสูงวัย  และข้อเสนอเพื่อการจัดการรองรับสังคมสูงวัย เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มกับผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนการจัดการรองรับสังคมสูงวัยระดับจังหวัด  4  คน  และระดับอำเภอ 7 อำเภอๆละ 15 คน รวม 119 คน ระยะที่ 2 พัฒนาตัวแบบโดยการนำผลการวิจัยระยะที่ 1 มาสร้างเป็นร่างตัวแบบ และประเมินตัวแบบ  เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับผู้รับผิดชอบงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับจังหวัด  อำเภอ  และคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพจังหวัดปทุมธานี  จำนวน  105  คน และระยะที่ 3 ทดลองใช้และประเมินผล โดยนำร่างตัวแบบมาทดลองใช้กับพื้นที่ตำบลที่มีบริบทความเป็นเมืองและชนบทอย่างละ  1  พื้นที่  เป็นเวลาสามเดือน รวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินผลด้วยกระบวนการสนทนากลุ่ม  นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาของการจัดการรองรับสังคมสูงวัยในแต่ละพื้นที่มีสภาพปัญหาแตกต่างกัน ได้แก่ ปัญหาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเขตเมือง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  การจัดการภัยพิบัติกับการอพยพผู้สูงอายุ สำหรับกลไกหลักในการจัดการรองรับสังคมสูงวัยในปัจจุบัน  อยู่ที่กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2) จุดแข็ง คือ มีโครงสร้างในหน่วยงานภาครัฐและบุคลากรมีความรู้  แต่จุดอ่อน คือ ยังขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน โอกาส คือ ความตระหนักถึงการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย มีกฎหมายและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการทำงาน รวมทั้งการพัฒนาอารยะสถาปัตย์  แต่อุปสรรค คือ ขาดความต่อเนื่องเชิงนโยบาย และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สภาพเศรษฐกิจ ทำให้ผู้สูงอายุถูกหลอกลวง/ถูกทอดทิ้งมากขึ้น 3) ข้อเสนอเพื่อการจัดการรองรับสังคมสูงวัย คือเปิดโอกาสให้เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ มีส่วนร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) รวมทั้งจัดให้มีคณะกรรมการสมัชชาสุขภาพระดับอำเภอ และมีเจ้าภาพประสานงาน คือสร้าง “Mr.สูงวัย” มีการอำนวยการทุกระดับการรายงานตัวชี้วัด และงบประมาณสนับสนุน พชอ. และ 4) ตัวแบบการจัดการรองรับสังคมสูงวัย ประกอบด้วย ระบบบริหารจัดการ  ระบบสนับสนุนและกลไกการขับเคลื่อน เมื่อทดลองใช้ตัวแบบและประเมินผลโดยการสนทนากลุ่ม พบว่า ผลของตัวแบบทำให้เกิดการจัดการตนเอง  โดยควรมีการกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม   การทบทวนกลไก และการแสวงหางบประมาณเชิงรุก โดยมีข้อเสนอเพื่อการยกระดับการทำงานโดยขับเคลื่อนผ่านนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ธรรมนูญสุขภาพ  เพื่อให้การจัดการรองรับสังคมสูงวัย ดำเนินงานไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13775
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2635000322.pdf941.6 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.