Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13782
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลางและขนาดเล็ก จังหวัดศรีสะเกษ |
Other Titles: | Factors affecting personnel participation in quality improvement of medium and small-sized community hospitals in Si Sa Ket Province |
Authors: | วรางคณา จันทร์คง ฐิชารัศม์ ชัยบรรจงวัฒน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นิตยา เพ็ญศิรินภา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล--วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาลชุมชน--ไทย--ศรีษะเกษ--การรับรองคุณภาพ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน ของบุคลากรโรงพยาบาล และ (3) อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน ต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลางและเล็ก จังหวัดศรีสะเกษการวิจัยเชิงสำรวจนี้ประชากรที่ศึกษาเป็นบุคลากรวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 583 คน กลุ่มตัวอย่างที่คำนวณได้ 189 คน ได้จากสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุแบบขั้นตอนผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลางและเล็ก จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ในระดับสูง (2) บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี วิชาชีพพยาบาล ระยะเวลาปฏิบัติงานในโรงพยาบาล 1-5 ปี เป็นกรรมการพัฒนาคุณภาพร้อยละ 51.6 และเคยได้รับการอบรมด้านการพัฒนาคุณภาพร้อยละ 67.8 ปัจจัยจูงใจ ได้แก่ การได้รับการยอมรับ และความก้าวหน้าด้านตำแหน่งอยู่ในระดับสูง และปัจจัยค้ำจุน ได้แก่ นโยบาย การบังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความมั่นคงในการทำงาน และสภาพการทำงาน อยู่ในระดับสูง ยกเว้น ด้านค่าตอบแทน อยู่ในระดับปานกลาง และ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลางและเล็ก จังหวัดศรีสะเกษ มี 5 ตัวแปร เรียงจากอิทธิพลเชิงบวกมากไปน้อย ได้แก่ การได้รับการยอมรับ ความมั่นคงในการทำงาน นโยบาย ค่าตอบแทน และสภาพการทำงาน ตามลำดับ โดยร่วมกันอธิบายการแปรผันของคะแนนการมีส่วนร่วมของบุคลากรได้ร้อยละ 68.8 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13782 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2635001296.pdf | 1.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.