Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13782
Title: Factors Affecting Personnel Participation in Quality Improvement  of Medium and Small-sized Community Hospitals in Si Sa Ket Province
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพ ของโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลางและขนาดเล็ก จังหวัดศรีสะเกษ
Authors: TICHARAT CHAIBANJONGWAT
ฐิชารัศม์ ชัยบรรจงวัฒน์
Warangkana Chankong
วรางคณา จันทร์คง
Sukhothai Thammathirat Open University
Warangkana Chankong
วรางคณา จันทร์คง
[email protected]
[email protected]
Keywords: การมีส่วนร่วม การพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลชุมชน
Participation
Quality development
Community hospitals
Issue Date:  30
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this study were to explore (1) the level of personnel participation, (2) personal factors, motivating factors, and hygiene factors of personnel, and (3) to study the effects of factors factors toward the participation of personnel in quality improvement of community hospitals in Sisaket Province.This survey study was conducted in a sample of 189 officials selected using multi-stage sampling from 583 professional staff members, who had been working for at least 1 year, of the community hospitals. The research tool was a questionnaire with a validity value of 0.96; and data analysis was done using descriptive statistics and stepwise multiple regression.The results of the study showed (1) Level of personnel participation in quality development of community hospitals was at a high level. (2) Personal factors were found that most were female, age between 41-50 years, bachelor's degree level, nursing profession their working period in the hospital 1-5 years (51.6%), being members of the quality development committee and 67.8% had received training. Hygiene factors included receiving recognition and advancement is at a high level. The hygiene factors were at the high level. Except for compensation that was at a moderate level. (3) The effects factors on personnel participation in quality development has 5 variables arranged from most to least positive influence including recognition, job security, policy, compensation, and working conditions. They explained 68.8 percent of the variation in personnel participation scores.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน ของบุคลากรโรงพยาบาล และ (3) อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน ต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลางและเล็ก จังหวัดศรีสะเกษการวิจัยเชิงสำรวจนี้ประชากรที่ศึกษาเป็นบุคลากรวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 583 คน กลุ่มตัวอย่างที่คำนวณได้ 189 คน ได้จากสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุแบบขั้นตอนผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลางและเล็ก จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ในระดับสูง (2) บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี วิชาชีพพยาบาล ระยะเวลาปฏิบัติงานในโรงพยาบาล 1-5 ปี เป็นกรรมการพัฒนาคุณภาพร้อยละ 51.6 และเคยได้รับการอบรมด้านการพัฒนาคุณภาพร้อยละ 67.8  ปัจจัยจูงใจ ได้แก่ การได้รับการยอมรับ และความก้าวหน้าด้านตำแหน่งอยู่ในระดับสูง และปัจจัยค้ำจุน ได้แก่ นโยบาย การบังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความมั่นคงในการทำงาน และสภาพการทำงาน อยู่ในระดับสูง ยกเว้น ด้านค่าตอบแทน อยู่ในระดับปานกลาง และ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลางและเล็ก จังหวัดศรีสะเกษ มี 5 ตัวแปร เรียงจากอิทธิพลเชิงบวกมากไปน้อย ได้แก่ การได้รับการยอมรับ ความมั่นคงในการทำงาน นโยบาย ค่าตอบแทน และสภาพการทำงาน ตามลำดับ โดยร่วมกันอธิบายการแปรผันของคะแนนการมีส่วนร่วมของบุคลากรได้ร้อยละ 68.8
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13782
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2635001296.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.