Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13796
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorภัชรณีรยา อยู่สุขth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2025-01-27T00:57:05Z-
dc.date.available2025-01-27T00:57:05Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13796en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ระดับปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน และระดับปัจจัยสุขอนามัยในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในทีมหมอครอบครัว (2) ระดับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ อสม.ในทีมหมอครอบครัว และ (3) ปัจจัยส่วนบุคคล ระดับปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน และระดับปัจจัยสุขอนามัยในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ อสม. ในทีมหมอครอบครัว อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ประชากรที่ศึกษา คือ อสม. ที่ปฏิบัติงานในทีมหมอครอบครัว จำนวน 661 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power 3.1 และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้จำนวน 330 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่น ในด้านปัจจัยจูงใจ ปัจจัยสุขอนามัย และด้านการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ อสม.ในทีมหมอครอบครัวเท่ากับ 0.94, 0.93, 0.99 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 57.10 ปี สถานภาพสมรส ร้อยละ 64.50 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 54.20 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 35.20 รายได้เฉลี่ยอยู่ในช่วง 5,000 – 10,000 บาท ร้อยละ 37.00 มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานเป็น อสม. เฉลี่ยเท่ากับ 14.97 ปี มีระดับปัจจัยจูงใจและระดับปัจจัยสุขอนามัยในการปฏิบัติงานของ อสม. ในทีมหมอครอบครัว อยู่ในระดับมาก (2) การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ อสม. อยู่ในระดับปานกลางในทุกด้าน และ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ อสม.ในทีมหมอครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยสุขอนามัยในการปฏิบัติงาน รายได้เฉลี่ย ระดับการศึกษา อาชีพ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และ เพศ สามารถร่วมกันทำนายการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ อสม. ในทีมหมอครอบครัวได้ร้อยละ 19.50th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectอาสาสมัครสาธารณสุข--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุขth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในทีมหมอครอบครัว อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์th_TH
dc.title.alternativeFactors affecting the performance of village health volunteers  in Family Care Teams of Mueang Prachuap Khiri Khan District, Prachuap Khiri Khan Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to explore (1) personal factors, level of motivating factors, and level of hygiene factors in the performance of village health volunteers (VHVs) in the family care teams; (2) levels performance according to VHVs’ roles and responsibilities in the family care teams; and (3) personal factors, level of motivating factors, and level of hygiene factors in the work that affects the VHVs’ performance of roles and responsibilities in the family care teams.This cross-sectional survey research was conducted in a sample of 330 VHVs selected using the stratified random sampling based on the G*Power 3.1 program from all 661 VHVs in all family care teams in Mueang Prachuap Khiri Khan District. The research instrument was a questionnaire validated by three experts and had confidence values for motivating factors, hygiene factors, and performance according to VHV’s role of 0.94, 0.93, and 0.99, respectively. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, minimum, maximum and stepwise multiple regression analysis. The research revealed that: (1) among all respondents, most of them were women aged 57.1 years on average; 64.5% were married; 54.2% finished primary school; 35.20% worked as general workers; 37.0% had an average income of 5,000–10,000 bath; had a mean tenure as VHVs of 14.97 years; and had a high level of motivating and hygiene factors while working as VHVs in the family care teams; (2) the performance of the VHVs’ roles and responsibilities was at a moderate level in all aspects; and (3) the factors affecting the performance of the VHVs’ roles and responsibilities in the family care teams at the significance level 0.05 included work hygiene factors, average income, educational level, occupation, length of service, and gender, which together could 19.5%.predict the performance of the VHVs’ role in the family care teams.en_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2645000536.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.