Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13864
Title: การส่งเสริมการผลิตเกลือทะเลตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการทำนาเกลือทะเลของเกษตรกร ในอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
Other Titles: Extension of sea salt production according to good agricultural practices for sea salt farm of farmers in Mueang Samut Sakhon District, Samut Sakhon Province
Authors: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
สันติภาพ กนิษฐสวัสดิ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พลสราญ สราญรมย์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
เกลือทะเล--การผลิต--การควบคุมคุณภาพ
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี--ไทย--สมุทรสาคร
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตเกลือทะเลของเกษตรกร 3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตเกลือทะเลตามมาตรฐาน GAP ของเกษตรกร 4) การได้รับการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการผลิตเกลือทะเลตามมาตรฐาน GAP ของเกษตรกร และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตเกลือทะเลตามมาตรฐาน GAP ของเกษตรกร การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ทำนาเกลือทะเล ในอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 229 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรคำนวณ ของ ทาโร ยามาเน ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 146 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 73.3 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 61.99 ปี ร้อยละ 63.7 จบประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.10 ราย ประสบการณ์การทำนาเกลือเฉลี่ย 33.45 ปี ร้อยละ 52.7 เป็นสมาชิกสหกรณ์ ร้อยละ 90.4 ทำนาเกลือเป็นอาชีพหลัก จำนวนแรงงานในภาคการเกษตรเฉลี่ย 1.70 ราย  ร้อยละ 87.0 มีแหล่งเงินทุนเป็นของตนเอง รายได้ของครัวเรือนจากการทำนาเกลือเฉลี่ย 293,184.93 บาท/ปี และมีต้นทุนเฉลี่ย 210,150.68 บาท/ปี 2) สภาพการทำนาเกลือทะเลของเกษตรกร ร้อยละ 95.2 มีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ออกเป็น 6 ส่วน พื้นที่ในการทำนาเกลือเฉลี่ย 61.84 ไร่ ระยะเวลาที่ใช้ในการทำนาเกลือเฉลี่ย 7.81 เดือน เก็บผลผลิตเฉลี่ย 4.61 รอบต่อปี ปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 6.60 ตันต่อไร่ต่อปีการผลิต ร้อยละ 95.2 เก็บผลผลิตโดยใส่รถเข็น จ้างแรงงานเฉลี่ย 17.55 ราย และร้อยละ 97.3 ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP 3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน GAP ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความรู้น้อยที่สุดในเรื่อง การเก็บรักษาบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานและเอกสารสำคัญไว้อย่างน้อย 3 ปี 4) เกษตรกรได้รับการส่งเสริมการผลิตเกลือทะเลตามมาตรฐาน GAP ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยได้รับการส่งเสริมน้อยที่สุดในด้านการสนับสนุนวัสดุบรรจุภัณฑ์ และมีความต้องการในการส่งเสริม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยต้องการสูงที่สุดในเรื่อง การสนับสนุนอุปกรณ์/เครื่องมือที่ใช้ในการทำนาเกลือทะเล 5) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการผลิตเกลือทะเลตามมาตรฐาน GAP ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีปัญหาสูงที่สุดในเรื่อง ไม่มีเครื่องทุ่นแรง/เครื่องจักรที่ใช้ในการทำนาเกลือทะเล และเกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเห็นด้วยสูงที่สุดในเรื่อง งบประมาณในการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่เพียงพอและเหมาะสมต่อความต้องการ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13864
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659001271.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.