Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1446
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพรรณวดี โสพรรณรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorมงคล คงเสน, 2525--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-09-12T06:37:38Z-
dc.date.available2022-09-12T06:37:38Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1446-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561th_TH
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการความรู้ในการผลิต ความต้องการช่องทางและวิธีการส่งเสริมของเกษตรกรผู้ผลิตไก่เบตงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ศึกษาเทคโนโลยีในการผลิตไก่เบตงเชิงธุรกิจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) พัฒนาโมเดลการส่งเสริมการผลิตไก่เบตงเชิงธุรกิจ และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโมเดล วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยแบบผสม มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสำรวจโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เป็นเกษตรกร 103 ราย จากประชากร 138 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน 2) สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 ราย วิเคราะห์เนื้อหาเพื่อพัฒนาโมเดลต้นแบบ 3) การสนทนากลุ่ม จำนวน 10 ราย วิเคราะห์เนื้อหาเพื่อปรับปรุงโมเดล และ 4) สอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ราย ใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องในการใช้โมเดลการส่งเสริมการผลิตไก่เบตงเชิงธุรกิจ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรมีความต้องการความรู้ในการผลิตทั้งหมด 14 ประเด็น มีความต้องการช่องทางการส่งเสริมผ่านสื่อราชการ คู่มือ และอินเตอร์เน็ท และต้องการวิธีการส่งเสริมแบบอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) เทคโนโลยีการผลิตไก่เบตง มี 2 รูปแบบ คือ เทคโนโลยีการผลิตลูกไก่และผลิตไก่ขุนและโมเดลการผลิตไก่เบตงเชิงธุรกิจ แบ่งออกได้เป็น 7 ระบบย่อย คือ การจัดหาสินค้า ปัจจัยการผลิต การผลิตสินค้า ทุน การแปรรูป การจำหน่าย และการส่งออก 3) โมเดลการส่งเสริมการผลิตไก่เบตงเชิงธุรกิจ ประกอบด้วย (1) กำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกษตรกรมีแนวทางในการประกอบอาชีพที่มั่นคง มีรายได้จากการผลิตไก่เบตง มีความมั่นคงในชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยใช้แนวคิดการบริหาร 4M เป็นปัจจัยนำเข้า (2) ใช้กระบวนการ CSMMMRE ประกอบด้วย แหล่งต้นสาร นักส่งสริม สาร สื่อ วิธีการ เกษตรกร และผลกระทบ (3) ผลผลิต เป็นความสามารถของเกษตรกรในการผลิตไก่เบตงในเชิงธุรกิจ และ (4) ผลลัพธ์ เป็นความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นใน 3 ด้าน คือ เกิดอาชีพ (สังคม) เกิดรายได้ (เศรษฐกิจ) และเกิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (สิ่งแวดล้อม) และ 4) ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความเห็นด้วยกับโมเดลในระดับมากที่สุดในประเด็น ได้แก่ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความสอดคล้องกับบริบท และการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตร--ไทย (ภาคใต้)th_TH
dc.subjectไก่--การผลิตth_TH
dc.titleโมเดลการส่งเสริมการผลิตไก่เบตงเชิงธุรกิจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้th_TH
dc.title.alternativeThe extension model of Betong chicken production for business in Three Southern Border Provincesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาเอกth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_162512.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.87 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons