กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1569
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปริชาติ ดิษฐกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.advisor | จรรยา สิงห์คำ, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.author | ปุณิกา วงษ์นามใหม่, 2523- | - |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-09-16T03:28:01Z | - |
dc.date.available | 2022-09-16T03:28:01Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1569 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพสังคม เศรษฐกิจ และสภาพการผลิตอ้อย 2) ศึกษาความรู้ในการจัดการการผลิตอ้อย 3) ศึกษาการปฏิบัติในการจัดการการผลิตอ้อยของเกษตรกร และ 4) ศึกษาปัญหาและความต้องการของเกษตรกรในการจัดการการผลิตอ้อยของเกษตรกรในตำบลหนองบ่อ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 52.01 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการผลิตอ้อยเฉลี่ย 23.55 ปี เกษตรกรส่วนมากไม่เคยอบรมเกี่ยวกับการผลิตอ้อย พื้นที่เป็นที่ดอน เกษตรกรเกือบทั้งหมดใช้อ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 โดยปลูกอ้อยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีระดับความรู้ในการจัดการการผลิตอ้อยอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 13.9 คะแนน ข้อคำถามที่ตอบถูกต้องมากที่สุด คือ ไม่ควรเผาใบอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยว เพราะทำให้เกิดการสูญเสียนํ้าหนักและคุณภาพ สำหรับข้อคำถามที่ตอบถูกน้อยที่สุด คือ โรคใบขาวและแมลงพาหะ คือ เพลี้ยกระโดดสีนํ้าตาล 3) เกษตรกรมีการเตรียมดินโดยการไถระเบิดดินลึก 50-75 เซนติเมตร ปลูกแบบแถวเดี่ยวและไว้อ้อยตอไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง มีการให้นํ้าตามร่องปลูก ใช้สารเคมีในการป้องกันศัตรูพืชน้อย และเก็บเกี่ยวอ้อยที่อายุ 10-14 เดือน แต่ไม่เคยวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ไม่มีการจัดทำบันทึกประจำแปลงปลูก และไม่ปลูกพืชหมุนเวียน นอกจากนี้เกษตรกรมีการเผาอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว และ 4) ปัญหาในการจัดการผลิตอ้อยของเกษตรกร คือ แรงงานหายาก ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างสูง เกษตรกรจำเป็นต้องเผาอ้อยเพราะแรงงานไม่ยอมตัดอ้อยสด ความต้องการของเกษตรกรในการจัดการการผลิตอ้อยของเกษตรกรคือ หน่วยงานภาครัฐควรสนับสนุนพันธุ์อ้อยพันธุดีให้กับเกษตรกร และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการกำจัดวัชพืชโดยเฉพาะหญ้าแห้วหมู และให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ดิน และการให้ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมกับความต้องการของพืช | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | อ้อย--การผลิต--การจัดการ | th_TH |
dc.subject | เกษตรกร--ไทย--สุพรรณบุรี | th_TH |
dc.title | การจัดการผลิตอ้อยของเกษตรกรในตำบลหนองบ่อ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Sugarcane production management of farmers in Nong Bo Sub-district, Song Phi Nong District, Suphan Buri Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
158756.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.86 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License