Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1581
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorธารทิพย์ นิติชาติ, 2507--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-09-16T06:23:14Z-
dc.date.available2022-09-16T06:23:14Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1581-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล 2) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ 3) การนำหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ไปสู่การปฏิบัติและความคิดเห็นต่อการฝึกอบรม 4) ความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการ และ 6) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค และข้อคิดเห็นในการดำเนินงานโครงการ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 77.0 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 56.88 ปี ร้อยละ 58.7 มีสถานะภาพสมรส ร้อยละ 65.1 จบระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.68 คน สมาชิกทำการเกษตรเฉลี่ย 1.68 คน รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 11,473.77 บาทต่อเดือน รายจ่ายครัวเรือนเฉลี่ย 8,501.23 บาทต่อเดือน พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 8.84 ไร่ ทำการเกษตรทฤษฎีใหม่เฉลี่ย 5.20 ไร่ ร้อยละ 46.8 ของเกษตรกรมีต้นทุนน้อยกว่า 10,000 บาท แหล่งสินเชื่อที่สำคัญคือ ธกส. ร้อยละ 81.0 ของเกษตรกรไม่ดำรงตำแหน่งทางสังคม ร้อยละ 79.8 เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร เกษตรกรมีประสบการณ์และผ่านการฝึกอบรมเรื่องการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ทั้งหมด 2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยแหล่งความรู้จากสื่อต่าง ๆ โดยได้รับในระดับน้อย 3) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการนำหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ไปสู่การปฏิบัติในระดับปานกลาง ส่วนที่ควรแก้ไขได้แก่ การสร้างเครือข่าย การวางแผนการใช้จ่ายเงิน การทำบัญชี การแปรรูป และการตลาด 4) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจและมีความคิดเห็นว่าควรขยายผลต่อไป ความคิดเห็นต่อหลักสูตรระบุว่ามีความเหมาะสมระดับปานกลาง และเกษตรกรให้ความสำคัญในเรื่องของการทำสวนเป็นอันดับ 1 5) ปัญหาที่พบมาก คือ เกษตรกรทำการเกษตรพืชเชิงเดียว ขาดทักษะในการทำผังแปลง ขาดความรู้การทำแผนการผลิตและการตลาด และขาดความรู้ด้านบัญชี 6) ข้อเสนอแนะของเกษตรกร ควรมีการส่งเสริมความรู้ให้กับเกษตรกรในหลายด้าน เช่น การใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและเหมาะสม ความรู้เรื่องการทำผังแปลง การทำแผนการผลิตและการทำบัญชีครัวเรือน การมีส่วนของผู้นำท้องถิ่นควรมีมากกว่าที่เป็นอยู่ และควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนแหล่งนํ้าที่สำคัญth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.titleการดำเนินโครงการ 5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกร อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่th_TH
dc.title.alternativeThe operations of the five stakeholders coordinating for New Therory Project in Doi Lo District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
158842.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.86 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons