Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1650
Title: การพัฒนารูปแบบการบริการงานผู้ป่วยนอกตามแนวคิดโลจิสติกส์ โรงพยาบาลพบพระ จังหวัดตาก
Other Titles: The development of a logistic-based health service model for the out-patient department at PhopPhra Hospital, Tak Province
Authors: อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิสิษฐ์ จันทร์วราสุทธิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรศักดิ์ จินาเขียว, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
ผู้ป่วยนอก -- ไทย -- ตาก
การบริการทางการแพทย์
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของรูปแบบการบริการงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพบพระ จังหวัดตาก 2) พัฒนารูปแบบการบริการงานผู้ป่วยนอกโดยประยุกต์ใช้ แนวคิดโลจิสติกส์ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการบริการงานผู้ป่วยนอกที่พัฒนาขึ้นกับรูปแบบเดิม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการงานผู้ป่วยนอก จํานวน 260 คน ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง และคํานวณ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power กำหนดอํานาจการทดสอบที่ระดับ 0.50 ระดับนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และขนาดอิทธิพลอย่ในช่วงปานกลางเป็น 0.15 การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะก่อนการพัฒนา 2) ระยะเตรียมและดําเนินการพัฒนา และ 3) ระยะหลังการพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) รูปแบบการบริการงานผู้ป่วยนอกโดยประยุกต์ใช้แนวคิดโลจิสติกส์ที่พัฒนาขึ้น 2) แบบบันทึกระยะเวลาการใช้บริการงานผู้ป่วยนอก 3) นาฬิกาดิจิทัลสําหรับจับเวลา และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการบริการงาน ผู้ป่วยนอกโดยแบบสอบถามฯ มีค่าความตรงตามเนื้อหาระหว่าง 0.6 -1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐานส่วนเบี่ยงเบน ควอไทล์ และสถิติ ทดสอบที ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาของรูปแบบการบริการงานผู้ป่วยนอกเดิม ได้แก่ มีหลายขั้นตอน ใช้ เวลานาน เจ้าหน้าที่ให้บริการไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และผู้ป่วยพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการโดยรวมอยู่ ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.45 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.3416) 2) รูปแบบการบริการงานผู้ป่วยนอก ที่พัฒนาขึ้น มีขั้นตอนการรับบริการรวดเร็วขึ้นโดยลดลงจาก 14 เหลือ 9 ขั้นตอน มีแนวทางและคู่มือการ ให้บริการของทีมสุขภาพที่เน้นการบริการตามมาตรฐานวิชาชีพ 3) เปรียบเทียบผลของการใช้รูปแบบการบริการ ใหม่ฯ กับรูปแบบเดิม พบว่า (1) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริการที่พัฒนาขึ้นสูงกว่ารูป แบบเดิมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ระยะเวลาการใช้บริการงานผู้ป่วยนอกน้อยกวารูปแบบเดิม โดยระยะเวลาการใช้บริการที่สั้นที่สุดลดลงจาก 31 นาที เป็น 11 นาที และระยะเวลาที่ยาวที่สุดลดลงจาก 90 นาที เป็น 31 นาที (3) คุณค่าสายธารการให้บริการตามการรับรู้ของผู้ป่วยสูงกว่ารูปแบบเดิม โดยมีค่าตํ่าที่สุดจาก 5.76 % เพิ่มเป็น 7.06 % และค่าสูงสุดจาก 48.78 % เพิ่มเป็น 55.08 % และ (4) คุณภาพการบริการที่มีการลดความสูญเปล่าจากการใช้บริการ ครั้งแรกสูงกว่ารูปแบบเดิม โดยเพิ่มจาก 46.13 % เป็น 85.90 %
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1650
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib160602.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.9 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons