Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1669
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มณฑิชา พุทซาคำ, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.advisor | วรินธร มณีรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.author | สยาม เซ่งตระกูล, 2521- | - |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-10-07T07:19:04Z | - |
dc.date.available | 2022-10-07T07:19:04Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1669 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ 2) เปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงของฟาร์มไก่ไข่ที่พบโรคระบาดและไม่พบโรคระบาด และ 3) ศึกษาแนวทางการจัดการป้องกันโรคระบาดในฟาร์มไก่ไข่ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุอยู่ระหว่าง 41 – 60 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยศึกษาด้านการเกษตรมาก่อน มีอาชีพหลักและรายได้มาจากการเลี้ยงไก่ไข่ ประกอบอาชีพเลี้ยงไก่ไข่มานาน 1 – 5 ปี ผู้ทำหน้าที่เลี้ยงไก่ไข่ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้าง มีอายุระหว่าง 41 – 60 ปี ขนาดฟาร์มส่วนใหญ่มีแม่ไก่จำนวน 12,001 – 15,000 ตัว 2) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มศึกษากับกลุ่มควบคุม พบปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคระบาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยเรียงตามลำดับค่าความเสี่ยงของการเกิดโรค ได้แก่ การให้บุคคลจากภายนอกเก็บมูลไก่ในโรงเรือนเลี้ยงไก่ การไม่ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อถาดไข่ก่อนนำเข้าโรงเรือน การไม่ทำความสะอาดพื้นบริเวณที่อาหารไก่หกหล่น การเตรียมโรงเรือนก่อนการเลี้ยงรอบใหม่มีผลตรวจไม่ผ่าน การพบสัตว์เลี้ยงสัตว์พาหะภายในโรงเรือน การตรวจไม่พบคลอรีนในนํ้าที่จุดไก่กิน การใช้พัดลมที่แผ่นปิดชำรุด การเตรียมระบบให้นํ้าก่อนเลี้ยงรอบใหม่มีผลตรวจไม่ผ่าน การเตรียมระบบให้อาหารก่อนเลี้ยงรอบใหม่มีผลตรวจไม่ผ่าน และไม่มีการบันทึกข้อมูลการเลี้ยงที่เป็นปัจจุบัน 3) เกษตรกรมีแนวทางการจัดการป้องกันโรคระบาดในฟาร์มไก่ไข่โดยทำการแยกไก่ป่วยออกจากฝูง แจ้งผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับความรุนแรงของอาการป่วยที่พบ ทำลายซากไก่ไข่โดยทิ้งในบ่อทิ้งซาก ก่อนเข้าสู่โรงเรือนไก่ไข่ บุคลากรมีการอาบนํ้า สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้า เปลี่ยนรองเท้าสำหรับใช้ในโรงเรือน มีการล้างมือ จุ่มฆ่าเชื้อรองเท้า และมีการพ่นสารฆ่าเชื้อล้อรถยนต์ที่เข้าฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | ไก่ไข่--โรค | th_TH |
dc.subject | ฟาร์มไก่ | th_TH |
dc.title | ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคระบาดในฟาร์มไก่ไข่ | th_TH |
dc.title.alternative | Risk factors of disease outbreak in layer farms | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
159216.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License