Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1684
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorธนชาติ บุญมี, 2533--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-10-10T07:36:11Z-
dc.date.available2022-10-10T07:36:11Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1684-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตมะม่วงของเกษตรกร (3) ความรู้และการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในการผลิตมะม่วงของเกษตรกร (4) ความต้องการความรู้ด้านการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตมะม่วง และ (5) ข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการผลิตมะม่วงของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.81 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ไม่มีการดำรงตำแหน่งทางสังคม จำนวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 5.16 คน ประสบการณ์ในการปลูกมะม่วง เฉลี่ย 14.69 ปี จำนวนแรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 2.71 คน พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดเป็นของตนเองเฉลี่ย 28.23 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกมะม่วง เฉลี่ย 18.06 ไร่ เกษตรกรร้อยละ 48.6 มีหนี้สินครัวเรือน เฉลี่ย 42,588.49 บาท รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตมะม่วงเฉลี่ย 14,528.67 บาทต่อไร่ รายจ่ายในการผลิตมะม่วงเฉลี่ย 4,560.92 บาทต่อไร่ ระดับการได้รับข้อมูลข่าวสารทางการเกษตร จากสื่อบุคคล และสื่อสิ่งพิมพ์อยู่ในระดับปานกลาง สื่อกิจกรรมอยู่ในระดับน้อย และสื่อมวลชนอยู่ในระดับน้อยที่สุด (2) ลักษณะพื้นที่ปลูกมะม่วงเป็นพื้นที่ดอน มีลักษณะเป็นดินเหนียว นิยมปลูกมะม่วง คละพันธุ์ พันธุ์เขียวเสวย และพันธุ์นํ้าดอกไม้สีทอง ปลูกมะม่วงระยะห่าง 4x4 เมตร ใช้สารพาโคลบิวทราโซลในการบังคับการออกดอก ห่อมะม่วงด้วยถุงคาร์บอน โรคที่สำคัญของมะม่วง มักพบโรคแอนแทรคโนส ราแป้ง แมลงศัตรูพืชที่สำคัญของมะม่วงที่พบ คือแมลงวันผลไม้ เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ใช้สารเบนโนมิลในการกำจัด ผลผลิตเฉลี่ย 959.97 กิโลกรัมต่อไร่ (3) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตมะม่วงเป็นอย่างดี เกษตรกรมีการปฏิบัติทางการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมในทุกประเด็น เกษตรกรมีการปฏิบัติด้านเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ทุกรายในประเด็น ปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ และพันธุ์มะม่วงที่ใช้ไม่ได้มาจากการตัดต่อทางพันธุกรรม (4) เกษตรกรมีความต้องการช่องทางในการส่งเสริมจากสื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และต้องการวิธีการส่งเสริมแบบทัศนศึกษา บรรยาย สาธิต และฝึกปฏิบัติ นอกจากนี้ (5) สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตมะม่วงของเกษตรกร ได้แก่ ภาครัฐควรมีการช่วยเหลือเกษตรกรในด้านต้นทุนการผลิต เช่น การลดราคาปุ๋ยและสารเคมี ภาครัฐและภาคเอกชนควรมีการสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกร และรัฐบาลควรมีการควบคุมด้านราคาผลผลิตในท้องตลาด ผ่านทางสื่อบุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรภาครัฐ และเอกชน และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็น โทรทัศน์ วิทยุและอินเตอร์เน็ตth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมะม่วง--การปลูกth_TH
dc.subjectมะม่วง--การผลิตth_TH
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตรth_TH
dc.titleแนวทางการส่งเสริมการผลิตมะม่วงของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรีth_TH
dc.title.alternativeExtension guidelines for mango production of farmers in Suphan Buri Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159309.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.72 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons