Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1686
Title: การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
Other Titles: Participation of the community enterprise members in Tha Pla District, Uttaradit Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพรรณี กันขัด, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
วิสาหกิจชุมชน--การจัดการ--ไทย--อุตรดิตถ์
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 2) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน และ 5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 43.71 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 37.5 จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.06 ราย มีรายได้ครัวเรือนต่อปีเฉลี่ย 212,875.00 บาท มีรายได้จากการเข้าร่วมวิสาหกิจชุมชนต่อปีเฉลี่ย 38,170.45 บาท หนี้สินส่วนมากมาจากกองทุนหมู่บ้าน ส่วนใหญ่มีตำแหน่งเป็นสมาชิกกลุ่ม ระยะเวลาการเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชน เฉลี่ย 4.35 ปี ส่วนมากเข้าเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนเพราะต้องการรายได้เพิ่ม และร้อยละ 40.2 เป็นสมาชิกกลุ่มกองทุนหมู่บ้าน 2) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนมากมีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในระดับมาก โดยในภาพรวมสมาชิกวิสาหกิจชุมชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งความรู้ต่างๆ ในระดับปานกลาง 3) การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินกิจกรรม ด้านการรับผลประโยชน์ และด้านการประเมินผล ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก 4) ปัญหาของการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินกิจกรรม และด้านการประเมินผลในภาพรวมมีปัญหาในระดับน้อย ส่วนด้านการรับผลประโยชน์ในภาพรวมมีปัญหาในระดับปานกลาง โดยสมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีความเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของการมีส่วนร่วมด้านการวางแผน ด้านการดำเนินกิจกรรม ด้านการรับผลประโยชน์ และด้านการประเมินผล ทั้ง 4 ด้าน ในระดับมาก และ 5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม พบว่า รายได้จากการเป็นสมาชิกกลุ่ม แหล่งความรู้และระดับปัญหา มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1686
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159315.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.69 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons