Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1728
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอรวรรณ ศิริเอนก, 2529--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-10-17T02:19:24Z-
dc.date.available2022-10-17T02:19:24Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1728-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานและประโยชน์ของการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกร 3) ความต้องการและแนวทางในการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกร 4) สภาพปัญหาในการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ 1) เกษตรกรผู้ผลิตลำไยในอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรในปี 2562 จำนวน 6,388 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความเคลื่อน 0.08 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 153 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนา 2) ผู้เข้าร่วมเวทีสนทนากลุ่ม คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 15 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 45.80 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.75 ราย สมาชิกในครัวเรือนที่ช่วยทำการผลิตลำไย เฉลี่ย 2.14 ราย มีประสบการณ์อาชีพการทำสวนลำไยเฉลี่ย 14.90 ปี พื้นที่ผลิตลำไยเฉลี่ย 21.75 ไร่ มีต้นทุนการผลิตลำไยเฉลี่ย 13,700 บาท/ไร่ และมีรายได้จากการผลิตลำไย เฉลี่ย 33,400 บาท/ไร่ ส่วนใหญ่มีภาระหนี้สิน โดยมีภาระหนี้สินเฉลี่ย 431,000 บาท/ปี ส่วนใหญ่ไม่มีอาชีพเสริม และเป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร เคยมีการรับรู้ข่าวสารหรือความรู้ด้านการเลี้ยงผึ้งผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต (Facebook/Line/Youtube ฯลฯ) มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เฉลี่ย 2.42 ครั้ง/ปี ส่วนใหญ่ไม่เคยติดต่อกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดจันทบุรี 2) ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ พบว่า ข้อมูลพื้นฐานการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ที่เกษตรกรทราบน้อยที่สุด 3 ลำดับสุดท้าย ได้แก่ (1) วัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ (2) เกณฑ์กำหนด และวิธีการปฏิบัติ ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มผึ้ง และ (3) การจัดการดูแลผึ้งพันธุ์ ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ของการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยอยู่ในระดับมาก 3) ผลการศึกษาความต้องการในการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ พบว่า มีความต้องการด้านเนื้อหาการส่งเสริมมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ (1) การจัดการดูแลผึ้งพันธุ์ (2) เกณฑ์กำหนด และวิธีการปฏิบัติ ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มผึ้ง และ (3) การเตรียมความพร้อมสำหรับการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ มีความต้องการด้านผู้ส่งเสริมสำหรับการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ในระดับมากที่สุด มีความต้องการด้านวิธีการส่งเสริมแบบรายบุคคลและแบบกลุ่มในระดับมาก ผลการศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ พบว่า แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ 5 ประเด็น ได้แก่ การสร้างอาชีพเสริม การส่งเสริมความรู้ด้านการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ การสนับสนุนส่งเสริมให้มีการทดลองเลี้ยง การสร้างเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง และการหาแหล่งรองรับผลผลิต 4) ผลการศึกษาสภาพปัญหาในการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ พบว่า มีปัญหาด้านแรงงาน ด้านปัจจัยการผลิต และด้านการตลาดในระดับมากth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectผึ้ง--การเลี้ยงth_TH
dc.subjectลำไย--การผลิตth_TH
dc.titleแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรีth_TH
dc.title.alternativeExtension guidelines of beekeeping for longan productivity efficiency by longan farmers in Pong Nam Ron District Chanthaburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
162191.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.06 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons