Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1747
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorณุพัฒน์ ทนยิ้ม, 2532--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-10-18T02:34:26Z-
dc.date.available2022-10-18T02:34:26Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1747-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559th_TH
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิก 2) สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของสมาชิก 3) ความพึงพอใจและความต้องการของสมาชิก 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะ 5) แนวทาง การพัฒนาศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี ผลการวิจัยพบว่า (1) สมาชิกมีอายุเฉลี่ย 55.42 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกส่วนใหญ่(ร้อยละ 83.0) เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธกส. ร้อยละ 40.7 เป็นสมาชิกอยู่ระหว่าง 11 – 15 ปี เหตุผลในการเป็นสมาชิกคือต้องการซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว แลกเปลี่ยนความรู้ และการกู้-ยืม ตามลำดับ สมาชิกทำการเกษตรเป็นหลัก มีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 27.92 ปี มีจำนวนแรงงานในครอบครัวและจ้างแรงงาน จำนวน 1-2 คน มีพื้นที่ ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย 24.67 ไร่ มีพื้นที่เป็นของตนเองเฉลี่ย 15.54 ไร่ สมาชิกร้อยละ 93.3 มีการกู้ยืมเงินจาก ธกส. กองทุนหมู่บ้าน/กลุ่มออมทรัพย์ และศูนย์ข้าวชุมชน ตามลำดับ สมาชิกมีรายได้เฉลี่ย 218,885.16 บาท/ปี (2) สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพบว่าสมาชิกปลูกข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 พันธุ์ปทุมธานี 1 และพันธุ์ กข31 ตามลำดับ ซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจากหน่วยงานเอกชน ศูนย์ข้าวชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ตามลำดับ จำหน่ายพันธุ์ข้าวที่โรงสีและศูนย์ข้าวชุมชน สมาชิกร้อยละ 74.8 ไม่ได้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่ศูนย์ข้าวชุมชน และร้อยละ 59.26 ไม่เข้าร่วมการประชุม/อบรมถ่ายทอดความรู้ (3) ความพึงพอใจและความต้องการของสมาชิก พบว่าในภาพรวมสมาชิกมีความพึงพอใจด้านกิจกรรมกลุ่ม และด้านองค์ประกอบของกลุ่มอยู่ในระดับปานกลาง มีความต้องการกิจกรรมอยู่ในระดับมาก (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะ พบว่ามีปัญหาภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (5) แนวทางการพัฒนา พบว่ามีแนวทาง 7 ประเด็น ได้แก่ 1)การพัฒนาเยาวชนรุ่นใหม่ให้เรียนรู้วัฒนธรรมและประเพณีการปลูกข้าว 2) การจัดหาเครื่องจักรกล และอุปกรณ์ให้มีความพร้อมต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว 3) การยกระดับมาตรฐานเมล็ดพันธุ์สู่มาตรฐานสากล 4) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการทางการเงินละสร้างโอกาสทางการเงินโดยการเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนภายในและภายนอก 5) การสร้างโอกาสทางการตลาดให้พร้อมต่อการแข่งขัน 6) การเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างศูนย์ข้าวชุมชนทั้งภายในภายนอกจังหวัด หน่วยงานภาครัฐและเอกชน 7) การให้ถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมให้สมาชิกจัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์โดยมีการควบคุมคุณภาพตามหลักวิชาการth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2016.181-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรีth_TH
dc.subjectข้าว--เมล็ดพันธุ์--การผลิตth_TH
dc.subjectเกษตรกร--ไทย--กาญจนบุรีth_TH
dc.titleแนวทางการพัฒนาศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดกาญจนบุรีth_TH
dc.title.alternativeGuideline for extension and development of Community Rice Center Development in Kanchanaburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2016.181-
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159465.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons