Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1823
Title: ความต้องการการส่งเสริมและการผลิตส้มโอพันธุ์ปูโกของเกษตรกรในอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
Other Titles: Extension need and the Pugo pomelo production by farmers in Yarang District, Pattani Province
Authors: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นริสา มะแซ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ส้มโอ--การผลิต
ส้มโอพันธุ์ปูโก
เกษตรกร--ไทย--ปัตตานี
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) การผลิตส้มโอพันธุ์ปูโกของเกษตรกร (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตส้มโอพันธุ์ปูโกของเกษตรกร (4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตส้มโอพันธุ์ปูโกของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 57.3 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48.24 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จาวนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.79 คน จานวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.85 คน ประสบการณ์ปลูกเฉลี่ย 8.5 ปี พื้นที่ปลูกเฉลี่ย 1.14 ไร่ จานวนต้นส้มโอพันธุ์ปูโกเฉลี่ย 16.64 ต้น แหล่งที่มาของต้นพันธุ์ร้อยละ 51.3 ขยายพันธุ์เอง เกษตรกรร้อยละ 92.3 ประกอบอาชีพทาสวน รายได้จากการปลูกส้มโอพันธุ์ปูโกต่อไร่ เฉลี่ย 6,425.64 บาท รายจ่ายจากการปลูกส้มโอพันธุ์ปูโกต่อไร่ เฉลี่ย 2,348.72 บาท รายได้จากการปลูกส้มโอพันธุ์ปูโก ต่อต้น เฉลี่ย 3,058.12 บาท รายจ่ายจากการปลูกส้มโอพันธุ์ปูโกต่อต้น เฉลี่ย 1,188.89 บาท (2) ประเด็นที่เกษตรกรจานวนมากปฏิบัติในการผลิตส้มโอพันธุ์ปูโก คือ ปลูกที่ระยะปลูก 6 × 6 เมตร การปฏิบัติในช่วง 3 ปีแรกมีการให้น้าอย่างสม่าเสมอ หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตส้มโอมีการใส่ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก เริ่มตัดแต่งกิ่งหลังจากปลูกส้มโอแล้ว 1 ปี การรักษาความสะอาดสวนอยู่เสมอ การตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง แสงแดดส่องถึง การเก็บผลผลิตเมื่อแก่จัดประมาณ 7 เดือน และการคัดแยกผลส้มโอที่มีตาหนิออกจากผลส้มโอที่สมบูรณ์ (3) ปัญหาที่เกษตรกรระบุว่าเป็นปัญหาในระดับมาก ได้แก่ คุณภาพผลผลิตต่า การระบาดของแมลงศัตรูพืช ราคาผลผลิตต่า และ การระบาดของโรค เกษตรกรมีข้อเสนอแนะ คือ ต้องการให้ทางราชการสนับสนุนปัจจัยการผลิตส้มโอพันธุ์ปูโก ส่งเสริมการให้ความรู้ด้านการผลิตและการจัดการส้มโอพันธุ์ปูโกอย่างครบวงจร ต้องการให้มีการช่วยเหลือในเรื่องของราคาผลผลิต และจัดหาตลาดเพื่อจัดจาหน่ายผลผลิต (4) เกษตรกรมีความต้องการด้านความรู้ในระดับมากที่สุด เรื่องการผลิตส้มโอพันธุ์ปูโก เกษตรกรมีความต้องการช่องทางการส่งเสริมความรู้ในระดับมากจากทางราชการ คู่มือ โทรทัศน์ และวีดิทัศน์ และเกษตรกรมีความต้องการความรู้ผ่านวิธีการส่งเสริมระดับมาก ในรูปแบบทัศนศึกษา ฝึกปฏิบัติ และสาธิต
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1823
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
142312.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.66 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons