Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1871
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุลชลี จงเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorจุรีรัตน์ พุ่มฉายา, 2528--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2022-10-27T04:05:09Z-
dc.date.available2022-10-27T04:05:09Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1871-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารเพื่อเสริมสร้างความมีวินัยของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารเพื่อเสริมสร้างความมีวินัยของนักเรียนในสถานศึกษาดังกล่าว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2563 จํานวน 326 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารเพื่อเสริมสร้างความมีวินัยของนักเรียน เป็นแบบมาตรประมาณค่า มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการบริหารเพื่อเสริมสร้างความมีวินัยของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ระดับการบริหารเพื่อเสริมสร้างความมีวินัยของนักเรียนในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ การกำหนดระเบียบวินัยตามเกณฑ์ การวางแผนเพื่อศึกษากิจกรรมการพัฒนาความมีวินัยของนักเรียน การกำหนดนโยบายของโรงเรียนด้านการพัฒนาความมีวินัยของนักเรียน การมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการเสริมสร้างความมีวินัยของนักเรียนการจัดกิจกรรมพัฒนาความมีวินัยของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบด้านความมีวินัยของนักเรียนโดยตรง การนิเทศ กํากับ ติดตาม ประเมินผลการพัฒนาความมีวินัยของนักเรียนอย่างเป็นระบบ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ครอบครัว ชุมชน และสังคม เพื่อพัฒนาความมีวินัยของนักเรียน ตามลำดับ และ 2) แนวทางการบริหารเพื่อเสริมสร้างความมีวินัยของนักเรียนสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษา (1) ควรกำหนดวิสัยทัศน์ของโรงเรียนที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพด้านวินัยอย่างชัดเจน (2) ควรให้ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและตั้งเป้าหมายร่วมกัน (3) ควรกำหนดกฎเกณฑ์วินัยนักเรียนโดยใช้แนวทางการกําหนดกฎเกณฑ์ด้านวินัยของนักเรียนที่เป็นมิตร (4) ควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อรับผิดชอบในการดำเนินการพัฒนาด้านความมีวินัยของนักเรียนโดยตรง (5) ควรมีการวางแผนเพื่อกำหนดกิจกรรมพัฒนาความมีวินัยของนักเรียนพร้อมทั้งประชาสัมพันธ์แผนกิจกรรมพัฒนาความมีวินัยของนักเรียนให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องทราบ (6) ควรใช้หลักการพัฒนาความมีวินัยของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง (7) ควรจัดให้มีการนิเทศ กำกับติดตาม และประเมินผลการพัฒนาความมีวินัยของนักเรียนอย่างเป็นระบบ และ (8) ควรใช้หลักการมีส่วนร่วมในการสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ครอบครัว ชุมชน และสังคม ในการส่งเสริมการจัดกิจกรรมต่าง ๆth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectวินัยในโรงเรียน--ไทย--กรุงเทพฯth_TH
dc.subjectโรงเรียน--การบริหาร--ไทย--กรุงเทพฯth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษาth_TH
dc.titleแนวทางการพัฒนาการบริหารเพื่อเสริมสร้างความมีวินัยของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeGuidelines for management development to enhance student discipline in schools under the Office of the Primary Educational Service Area, Bangkok Metropolisth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were 1) to study the level of the management to enhance discipline of students in schools under Bangkok Primary Educational Service Area Office; and 2) to study guidelines for development of the management to enhance discipline of students in the schools. The research sample consisted of 326 teachers from schools under Bangkok Primary Educational Service Area Office during the 2020 academic year, obtained by stratified random sampling. The key research informants were 5 experts. The employed research instruments were a rating scale questionnaire on the management to enhance student’s discipline, with reliability coefficient of .97, and an interview form on guidelines for development of the management to enhance discipline of students in schools. Quantitative data were statistically analyzed using the frequency, percentage, mean, and standard deviation; while qualitative data were analyzed with content analysis. Research findings were as follows: 1) the overall management to enhance discipline of students in schools was rated at the high level; when specific aspects of the management were considered, the specific aspects could be ranked based on their rating means from top to bottom as follows: that of the determination of disciplinary rules in accordance with the criteria; that of the planning to study activities for development of student's discipline; that of the formulation of the school' s policy on development of the student's discipline; that of having the vision on enhancement of the student's discipline; that of organizing activities to develop student's discipline on a continuously basis; that of appointing a committee to be directly in charge of student's discipline; that of the systematic supervision monitoring, follow-up, and evaluation of the development of student's discipline; and that of creating the cooperative networks between the school, family, community, and society to develop student’s discipline, respectively, and 2) regarding guidelines for development of the management to enhance discipline of students in schools, it was proposed that the school should (1) determine its vision that clearly focuses on clearly development of the student’s disciplinary potential; (2) allow teachers and stakeholders to participate in formulation of the policies and determination of the goals; (3) determine the rules and criteria for student's discipline with the use of amicable approach; (4) appoint a committee to be directly in charge of the operation for development of student’s discipline; (5) have the planning for determination of activities to develop the student’s discipline and publicize the plan; (6) utilize the principle of student discipline development continuously, (7) provide the systematic supervision, monitoring, and evaluation of the development of student's discipline; and (8) utilize the principle of school, family, community, and society participation in the promotion of organizing various activitiesen_US
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.28 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons