Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1932
Title: | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรในอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ |
Other Titles: | Factors Relating to the farmer registration and data updating in Nam Pad District of Uttaradit Province |
Authors: | สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา กิติยา นวลหิน, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ เกษตรกร--ไทย--อุตรดิตถ์ |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร 2) การดำเนินการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร 3) ความคาดหวังของเกษตรกรต่อประโยชน์จากการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร 4) ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นต่อการดำเนินงานการขึ้นทะเบียนเกษตรกรและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร 5) ปัญหา ข้อเสนอแนะของเกษตรกรต่อการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรกว่าครึ่งเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.31 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกองค์กรต่าง ๆ โดยกว่าสามในสี่เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส. เกษตรกรกว่าครึ่งไม่มีตำแหน่งทางสังคม ส่วนมากเคยเข้าร่วมโครงการของรัฐบาล ได้รับแหล่งข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่จากสื่อบุคคล มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.17 คน มีจำนวนแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.25 คน เกษตรกรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และทำไร่ มีพื้นที่ถือครองด้านการเกษตรเฉลี่ย 21.97 ไร่ โดยลักษณะการถือครองส่วนใหญ่เป็นของครัวเรือน รายได้ในครัวเรือนทั้งหมดเฉลี่ย 144,687 บาท (2) ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการดำเนินการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) ความคาดหวังของเกษตรกรต่อประโยชน์จากการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4) ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินงานการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (5) ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นต่อการดาเนินงานการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ได้แก่ ระดับข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากแหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน จำนวนแรงงานภาคการเกษตร พื้นที่ถือครองด้านการเกษตร รายได้ครัวเรือน การดำเนินการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร และความคาดหวังของเกษตรกรต่อประโยชน์จากการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร โดยเกษตรกรมีปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และหนึ่งในสี่ของเกษตรกรเสนอแนะว่า อยากให้มีการช่วยเหลือเกษตรกรจ่ายเงินให้เกษตรกรโดยตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางและอยากให้เกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่ดินสามารถเข้าร่วมโครงการของรัฐบาลได้ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1932 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
143296.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License