Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1976
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพิเชฐ บัญญัติ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุดใจ ตั้งประดิษฐ์, 2501--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-11-01T06:42:01Z-
dc.date.available2022-11-01T06:42:01Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1976-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการณ์และความคาดหวังของ การจัดการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสมุทรสาคร 2) สร้างรูปแบบการจัดการดูแลสุขภาพผู้ป๋วยเบาหวาน และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสมุทรสาคร ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง มี 2 กลุ่ม กลุ่มแรก สำหรับวิเคราะห์สภาพการณ์ และความคาดหวังฯ เพื่อสร้างรูปแบบ จำนวน 13 คน ได้แก่ ทีมสหสาขาวิชาชีพ 8 คน และผู้ป่วยเบาหวาน 5 คน กลุ่มที่สอง สำหรับประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ จำนวน 20 คน ประกอบด้วยผู้แทนจากทีมสหสาขา วิชาชีพ 8 คน และผู้ป่วยเบาหวาน 1 คน ทีมผู้บริหารและนักวิชาการของโรงพยาบาล 11 คน เครื่องมือการวิจัยมี 2 ชุด (1) ประเด็นการสัมภาษณ์สำหรับวิเคราะห์สภาพการณ์และความคาดหวังฯ เพื่อสร้างรูปแบบ และ (2) แบบ ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ เครื่องมือทั้ง 2 ชุด ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.72 และ 0.88 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และแจกแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ รัอยละ ค่าเฉลี่ย เพื่อคำนวณค่าคะแนนความเหมาะสม ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์ปัจจุบันการจัดการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาล สมุทรสาคร ยังไม่ตอบสนองความคาดหวังของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ได้แก่ สถานที่ให้บริการแออัด อัตรากำลังและเครื่องมือไม่เหมาะสมกับภาระงาม ผู้ป่วยเบาหวานยังไม่ได้รับบริการที่ครอบคลุม และสะดวก รวดเร็ว การประสานงาน การส่งต่อยังไม่ชัดเจน และแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวานยังไม่ชัดเจน 2) รูปแบบการจัดการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานที่พัฒนาขึ้นมี 3 องค์ประกอบ (1) นโยบายที่ชัดเจนในการ จัดการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน ประกอบด้วย แผนงานและการจัดการเชิงกลยุทธ์ของโรงพยาบาล ร่วมกับ เครือข่ายบริการสุขภาพ และเครือข่ายท้องถิ่น (2) การปฏิบัติงานร่วมกันของทีมสหสาขาวิชาชีพทีมีทักษะและ คุณลักษณะเฉพาะด้านในการให้บริการ (3) การมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติ เพื่อการจัดการดูแลตนเองที่ ถูกต้องและเหมาะสมและ 3) รูปแบบการจัดการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาทวานที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมกับการ นำไปใชัในโรงพยาบาลสมุทรสาคร (95.23 %) อย่างไรก็ตามการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ไนโรงพยาบาล สมุทรสาคร ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้การนำรูปแบบไปใช้ได้อย่างเหมาะสมและมี ประสิทธิภาพ สำหรับโรงพยาบาลอื่นที่ต้องการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใชั จำเป็นต้องพิจารณาถึงความ คาดหวังของทั้งผู้ให้บริการ ผู้ใช้บริการ ชุมชน และความเหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2010.91en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectโรงพยาบาลสมุทรสาคร -- การบริการth_TH
dc.subjectเบาหวาน -- ผู้ป่วย -- การดูแลth_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลสมุทรสาครth_TH
dc.title.alternativeThe development of a health care management model for diabetes patients in Samutsakhon Hospitalth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2010.91en_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were: (1) to analyze the situation and expectations of health care management for diabetes patients at Samutsakhon Hospital, (2) to develop a new health care management model , and (3) to evaluate the appropriateness of the developed model for diabetes patients. The sample was selected by purposive sampling technique according to criteria indicated and consisted of two groups. The first group analyzed the situation and expectations of health care management for diabetes patients. This group included thirteen subjects: eight health care providers in the multidisciplinary team and five diabetes patients. The second group served to evaluate the appropriateness of the developed model. The latter included eight representatives of the multidisciplinary team, one patient, eleven administrators and academic personnel of Samutsakhon Hospital. Two research tools were used. (1) Interview questions were used for analyzing the situation and expectations. Then the appropriate model was developed. (2) An evaluation form of the health care management model was employed. The content validity of these tools was verified by three experts, and it was 0.72 and 0.88 respectively. An in-depth interview and questionnaires were used for collecting the data. Record tapes were transcribed and then analyzed to elicit key ideas and themes by using content analysis. Descriptive statistics, percentage and mean were used for calculating the appropriateness of the developed model. The results of this research were as follows. 1) The current situations of health care management for diabetes patient did not respond to the expectations of health care providers and users. For example, service locations were crowded. Numbers of personnel and equipment were not appropriate to the tasks. Services provided for diabetes patient were not comprehensive and were slow. Coordination and the referral system were not clear. Guidelines for diabetes patients were not explicit. 2) The developed model consisted of three components. A policy for managing health care of diabetes patients must be explicit and include a plan and strategic management of the hospital in conjunction with the health service network and the local community network. All members of the multidisciplinary team who had specific characteristics and skills must cooperate well. Patients and relatives should participate in caring, so they can do self-care management correctly and appropriately. Finally, 3) the developed model was suitable for Samutsakhon Hospital (95.23%). Before implementing this model at Samutsakhon hospital, involved persons had a meeting to ensure that the model was applied appropriately and effectively. Other hospitals may apply this model, but they need to consider the expectations of all users, service providers, and community services as well as the context of their hospitalen_US
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib124394.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.96 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons