Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1989
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.advisor | สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.author | หนึ่งฤทัย ทิพย์กรรณ, 2524- | - |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-11-02T03:01:13Z | - |
dc.date.available | 2022-11-02T03:01:13Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1989 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงตามระบบการปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตมะม่วงของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 48.34 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 หรือ 6 เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้งหมด สองในสามเป็นกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ประกอบอาชีพหลักทำสวนมะม่วง และทำนาเป็นอาชีพรอง มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.78 คน จำนวนแรงงานในครัวเรือนภาคการเกษตรและแรงงานจ้างเฉลี่ย 3 และ 2 คน ตามลาดับ มีประสบการณ์การทำเกษตรเฉลี่ย 21.40 ปี และมีประสบการณ์การทำสวนมะม่วง และการทำสวนมะม่วงตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเฉลี่ย 14.33 และ 7 ปี ตามลาดับ มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดและพื้นที่ปลูกมะม่วงเฉลี่ย 20.88 และ 12.90 ไร่ ตามลาดับ โดยมะม่วงมีอายุเฉลี่ย 14.47 ปี รายได้และรายจ่ายจากมะม่วงเฉลี่ยปีละ 231,305.97 และ 52,316.42 บาท ตามลาดับ แหล่งเงินทุนส่วนใหญ่กู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รองลงมาจากสหกรณ์การเกษตร เกษตรกรได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสารในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยด้านสื่อบุคคลได้รับระดับปานกลางจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ด้านสื่อมวลชนได้รับระดับน้อยที่สุดจากหนังสือพิมพ์และวารสารทางการเกษตร (2) เกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงตามระบบการปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมเชิงความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยยอมรับระดับมาก ใน 3 ประเด็น ได้แก่ การจัดการเพื่อให้ได้ผลิตผลมะม่วงที่มีผิวสวยและขนาดสม่ำเสมอ การจัดการสุขลักษณะสวน และการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ระดับน้อยคือการบันทึก การเก็บ และการควบคุมเอกสาร (3) ปัญหาการผลิตมะม่วงตามระบบการปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรในภาพรวมระดับน้อย โดยมีปัญหาการตลาดระดับปานกลาง เกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนเงินทุนและปัจจัยการผลิต รวมทั้งการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิต วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปผลผลิต | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.relation.uri | https://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2013.190 | - |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มะม่วง--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม | th_TH |
dc.subject | เกษตรกร--ไทย--อุดรธานี | th_TH |
dc.title | การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงตามระบบการปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรในอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี | th_TH |
dc.title.alternative | Technology adoption of good agricultural practics in mango production by farmers in Udon Thani Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/STOU.the.2013.190 | - |
dc.degree.name | เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to study: (1) socio-economic circumstance of farmers (2) technology adoption of good agricultural practice in mango production by farmers (3) problems and suggestions for mango production by farmers. The population in this study was a number of 202 mango farmers who had been trained on good agricultural practice by District Agricultural Extension Office, Udon Thani Province and Department of Agriculture. Identification of sample group by Yamane formula with error of 5%, a number of 134 samples was selected. Interview form was the instrument for data collection. Statistics used were frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean and standard deviation. Research results were following. (1) Most of the farmers were male. Their average age was 48.34 years. They completed lower primary or higher primary school. All of them were members of community enterprise. Two-thirds were customers of the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives. Mango orchard was their main occupation while rice-farming was their subordinate occupation. Their average number of household members was 4.78 persons. Their average number of household labor for agricultural sector and hired labor were 3 and 2 persons respectively. Their average experience in mango production and adoption of good agricultural practice in mango production were 14.33 and 7 years respectively. Their average total agricultural area and mango planting area were 20.88 and 12.90 rai respectively. The average age of mango tree was 14.47 years. Their average income and cost in mango production were 231,305.97 and 52,316.42 baht/year respectively. Capital source was loan mostly from the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives, secondly was loan from the Agricultural Cooperatives. In overall, farmers received updated information at low level. From individual media, they received updated news at medium level from government authorities while they received at the lowest level from newspaper and agricultural journal. (2) Technology adoption of good agricultural practice in mango production by farmers, in their overall opinion, it was indicated at medium level. Their adoption at high level in 3 issues included management for nice peel and same size, management for hygienic orchard, and harvest as well as post-harvest practice. While document recording, filing and control were found at low level. (3) Overall problem in adoption of good agricultural practice in mango production by farmers was at low level. Their marketing problem was at medium level. They suggested the government sector or relevant work offices providing financial support, production factors as well as providing production technology, post-harvest knowledge and products processing through a training workshop program. | en_US |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
143929.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License