Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2002
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorดวงกมล วัตราดุลย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสิริรัตน์ วิภาสศิลป์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorจารุณี ทรงประโคน, 2505--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-11-03T02:55:19Z-
dc.date.available2022-11-03T02:55:19Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2002-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพการณ์การทำงานของบุคลากร ผู้ให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวาน (2) ร่างรูปแบบทีมงานให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวาน และ (3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบทีมงานให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลกระสัง ที่พัฒนาขึ้น ผู้ให้ข้อมูลหลักได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด มี 2 กลุ่ม กลุ่มแรก สำหรับ วิเคราะห์สภาพการณ์การให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวาน ของบุคลากรความรู้ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 19 คน ได้แก่ ความรู้ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 9 คน และผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 10 คน กลุ่มที่สอง สำหรับประเมินความเหมาะสมของรูปแบบทีมงานผู้ให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 6 คน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหาร 2 คน และผู้แทนกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาทีมงาน 4 คน เครื่องมือการวิจัยมี 2 ชุด (1) ประเด็นสนทนาเพื่อการวิเคราะห์สภาพการณ์การให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวาน และ (2) แบบสอบถามเพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบทีมงานผู้ให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวาน ที่พัฒนาขึ้นเครื่องมือทั้ง 2 ชุด ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ5 คน ค่าดัขนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.99 และ 0.82 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสุนทรียสนทนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ เพื่อคำนวณค่าคะแนนความเหมาะสม ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการณ์การทำงานของบุคลากรผู้ให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาล กระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ แบ่งได้ 2 ส่วน คือ 1) สภาพการณ์ทำงานที่ส่งเสริมต่อการพัฒนาบุคลากรทีมให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวาน คือ บุคลากรมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน มีแรงจูงใจที่เกิดจากทีมงานและผู้ป่วยมีทัศนคติที่ดีต่องานและองค์การ 2 ) สภาพการณ์ทำงานของบุคลากรที่ยังมีอุปสรรคต่อการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่าอัตรากำลังในการให้บริการผู้ป่วยเบาหวานไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการ ไม่มีคำสั่งแต่งตั้งทีมงาน การประชุมขาดความต่อเนื่อง (2) รูปแบบทีมงานให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวานที่เหมาะสมกับบริบทโรงพยาบาลกระสัง ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ชุด ได้แก่ 1) ด้านบุคคล ประกอบด้วยแรงจูงใจและการมีส่วนร่วม และทักษะในการทำงาน 2) ด้านงาน ประกอบด้วย วัตถุประสงค์และกิจกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3) ด้านทีมงานประกอบด้วย ภาวะผู้นำ การประชุมของทีมงานและการสื่อสารที่ดี 4) ด้านองค์การประกอบด้วย โครงสร้างองค์การ บรรยากาศ วัฒนธรรมองค์กรและค่าตอบแทน (3) รูปแบบทีมงานให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวาน ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมกับการนำไปใช้ในโรงพยาบาลกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ คิดเป็นร้อยละ 92.46 ข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบทีมงานให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวานที่พัฒนาขึ้นไปใช้ต้องมีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้การนำรูปแบบไปใช้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2011.114en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectโรงพยาบาลกระสัง -- การทำงานเป็นทีมth_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบทีมงานให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์th_TH
dc.title.alternativeThe development of a model of health education teamwork for diabetic patients at Krasang Hospital, Buriram Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2011.114en_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research and development aimed to: (1) analyze the working situation of the staff who provided health education for diabetes patients , (2) establish a model of health education teamwork for diabetes patients , and ( 3) evaluate the suitability of this teamwork model at Krasang Hospital. The sample consisted of two groups. The first group included nineteen subjects: nine staff and ten diabetes patients . and this group analyzed the current situation of the health education for the diabetes patients . The second group included six subjects: two qualified administrators and four co- rcprcscntativcs of a development team, and they evaluated the suitability of the diabetic health education teamwork. Two research tools were used: (1) dialogue guidelines for analyzing the situation and needs of the teamwork model of diabetic health education and (2) an evaluation form for evaluating the developed model. These tools were verified by five qualified professionals, and the content validity was 0.99 and 0.82. The data collected by the dialogue method. The data were analyzed by content analysis, descriptive statistics, and percentages. The results of the research were as follows. (1) The situation of the health education for the diabetes patients at Krasamg Hospital. Buriram could be divided into two parts. 1) Working situations promoted the development of the diabetes team. All staff cooperated fully in taking care of diabetes patients. They had motivation which came from both their teamwork and the diabetes patients themselves. They also had a positive attitude toward their work and their organization. 2) Working situations of personnel had been obstacle for caring diabetes patients. Man power was not appropriate to the number of diabetic patients. There was no official appointment of this team. Meetings were not held regularly. Moreover, their knowledge and skills with regard to medication were inadequate. (2) The developed model of health education teamwork for diabetes patients consisted of four dimensions. 1) A human dimension consisted of motivation, participation, and working skills. 2) Work dimension comprised objectives and activities for diabetes patients. 3) A team dimension consisted of leadership, teamwork meeting, and good communication. 4)An organization dimension comprised the organizational structure, climate, corporate culture, and compensation. (3) The team model was appropriate for applying at Krasang Hospital. Buriram. and the evaluation score was 92.46%. This model may be applied to other hospitals, but a meeting of all relevant persons is needed so the model is used appropriately and effectivelyen_US
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib127877.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.16 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons