Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2082
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorยุวดี เกตสัมพันธ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorธีรวรรณ ฟักทองพรรณ, 2499--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-11-10T01:42:57Z-
dc.date.available2022-11-10T01:42:57Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2082-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555th_TH
dc.description.abstractวิจัยเชิงพรรณาเพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอ ผู้ป่วยใน และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยใน (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง (3) หาปัจจัยพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การที่ร่วมทำนาย ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยใน จำนวน 334 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบเชิงเดียวจาก ประชากร จำนวน 2,029 คน ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบสอบถามพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ ของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยใน ส่วนที่ 3 แบบสอบถามประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยใน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนี้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่า CVI ของแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 เท่ากับ 0.93 และ 0.90 ตามลำดับ และนำไปทดลองใช้หาความเที่ยงของแบบสอบถามหาค่าสัมประสิทิ์ธแอลฟ่าของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.90 และ 0.78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยใน อยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย=4.35,3.97 ตามลำดับ ) (2) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การของพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการปฏิบัติงามของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยในอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (r =.587) (3) ตัวแปรที่ร่วมในพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของ พยาบาล ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ตามลำดับ ดังนี้ พฤติกรรมความสำนึกในหนัาที่ พฤติกรรมให้ความร่วมมือ พฤติกรรมการมีน้ำใจเป็นนักกีฬา และพฤติกรรมการสำนึกถึงผู้อื่น โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ ร้อยละ 52.2 (R2=.522) ได้สมการในรูปมาตรฐาน ดังนี้ ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน = .228 (พฤติกรรมความสำนึกในหนัาที่) + ,281 (พฤติกรรมการให้ความร่วมมือ) +.202 (พฤติกรรมการมีน้ำใจเป็นนักกีฬา) + .151 (พฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่น) จากผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมความสำนึกในหนัาที่ พฤติกรรมให้ความร่วมืมอ พฤติกรรมการมีน้ำใจเป็นนักกีฬา และพฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่นเป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มระดับประสิทธิผลการปฏิบัติของพยาบาล จากการวิจัยครั้งนี้ได้แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาและส่งเสริมพฤติกรรมเป็นสมาชิกขององค์การ และตระหนักถึงความรู้สึกของพยาบาลในการทำงานด้วย เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน รวมทั้งควรนำพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การมาเป็นดัชนีในการคัดสรรพยาบาลเข้าสู่องค์การต่อไปth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2013.337en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย -- ความพอใจในการทำงาน.th_TH
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งth_TH
dc.title.alternativeThe relationship between organizational citizenship behaviors and performance effectiveness of nurses working at the in-patient department in a government university hospitalth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2013.337en_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe Purposes of this research were: (1) to study the level of organizational citizenship behaviors and performance effectiveness of nurses who worked at the In- patient Department in a government university hospital, (2) to investigate the relationship between organizational citizenship behaviors and performance effectiveness, and (3) to odemtofu the [redoctove varoab;es pf [erfpr,amce effectovemess pf mirses wjp wprled at the Om-Patient Department. The sample of this study comprised 334 professional nurses who had at least one year’s experience at the In-patient Department in the government university hospital. They were selected by the simple random sampling technique. Questionaires were used as a research tool and consisted of three parts: personal characteristics, organizational citizenship behaviors, and performance effectiveness. The content validity was verified by three experts and CVI of the second and the third were 0.93 and 0.90, respectively. Cronbach’s alpha reliability coefficients of the second and the third sections were 0.90 and 0.78 respectively. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson product moment correlation, and stepwise multiple regression analysis The research findings were as follows. (1) Nurses who worked at the In- patient Department rated their organizational citizenship behaviors and performance effectiveness at the high level. (2) There was a statistically significant positive correlation at a moderate level between organizational citizenship behaviors and performance effectiveness of the nurses at the 0.05 level (r = .587). Finally, (3) the organizational citizenship behaviors, especially conscientiousness, civic virtue, fairness, and courtesy, could significantly predict the effective performance of nurses at the 0.05 level. These predictors accounted for 52.2 percenten_US
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib137390.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.06 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons