Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2185
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุภาสินี ตันติศรีสุข | th_TH |
dc.contributor.author | อโนรัตน์ หวานนุรักษ์ | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-11-15T06:39:24Z | - |
dc.date.available | 2022-11-15T06:39:24Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2185 | en_US |
dc.description.abstract | จากแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยรัฐบาลให้การส่งเสริมการผลิตและการลงทุนของภาคเอกชน ส่งผลให้เกิดการลงทุนในส่วนกลางและภูมิภาคมากขึ้น จากอดีตที่ผ่านมาอุตสาหกรรมจำนวนมากตั้งอยู่ในเขตภาคกลาง และจังหวัดสระบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการประกอบการอุตสาหกรรมหลากหลายและมีแนวโน้มการตั้งโรงงานเพิ่มมากขึ้น วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อศึกษาโครงสร้างทั่วไปของอุตสาหกรรมในจังหวัดสระบุรี ศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกแหล่งที่ตั้งอุตสาหกรรมในจังหวัดสระบุรี และศึกษาถึงปัญหาที่เกิดจากการประกอบการและการเลือกแหล่งที่ตั้งอุตสาหกรรมในจังหวัดสระบุรี โดยการใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง การศึกษาได้แบ่งอุตสาหกรรมออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1. อุตสาหกรรมเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร กลุ่มที่ 2. อุตสาหกรรมเบา กลุ่มที่ 3. อุตสาหกรรมหนัก และกลุ่มที่ 4. อุตสาหกรรมการบริการและสาธารณูปโภค ผลการศึกษาพบว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดสระบุรี ส่วนใหญ่ประกอบกิจการในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด รองลงมาได้แก่ บริษัทจำกัด ธุรกิจครอบครัว และกิจการเจ้าของคนเดียว ตามลำดับ ส่วนขนาดการลงทุนและการจ้างงานของอุตสาหกรรมในจังหวัดสระบุรีแตกต่างกันไปตามประเภทของอุตสาหกรรมคือ กลุ่มที่ 1. มีการลงทุนขนาดเล็ก จำนวนแรงงานน้อย กลุ่มที่ 2. การลงทุนขนาดใหญ่ จำนวนแรงงานมาก กลุ่มที่ 3. การลงทุนขนาดใหญ่ จำนวนแรงงานมากกว่าทุกอุตสาหกรรม และ กลุ่มที่ 4. การลงทุนขนาดกลาง จำนวนแรงงานน้อย ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกแหล่งที่ตั้งอุตสาหกรรมในจังหวัดสระบุรี ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกลุ่มตัวอย่างได้เลือกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกแหล่งที่ตั้งดังนี้ กลุ่มที่ 1. คือ ค่าจ้างแรงงาน กลุ่มที่ 2. คือการได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล กลุ่มที่ 3. คือ ราคาที่ดิน และกลุ่มที่ 4. คือ โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจากผลการศึกษาดังกล่าวนำไปสู่ข้อเสนอแนะดังนี้ สำหรับภาครัฐควรมีการจัดการพื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรมอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันปัญหาการใช้พื้นที่อุตสาหกรรมรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรม และป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และควรมีการกระจายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้ทั่วถึง | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.subject | อุตสาหกรรม--สถานที่ตั้ง--ไทย--สระบุรี | th_TH |
dc.title | การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกแหล่งที่ตั้งของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในจังหวัดสระบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Analysis of factors effecting to industrial location in Saraburi province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เศรษฐศาตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
This item is licensed under a Creative Commons License