Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2190
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorจารุณี นพเสา-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2022-11-15T08:52:10Z-
dc.date.available2022-11-15T08:52:10Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2190-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ทั่วไปของการผลิต การนำเข้าและส่งออกปลาสดแช่เย็นแช่แข็งของโลก 2) ศึกษาสถานการณ์ทั่วไปของการผลิต การนำเข้าและส่งออกปลาสดแช่เย็นแช่แข็งของไทย 3) วิเคราะห์แนวโน้มมูลค่าการส่งออกปลาสดแช่เย็นแช่แข็งของไทย และ 4) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของธุรกิจส่งออกปลาสดแช่เย็นแช่แข็งของไทย วิธีการศึกษาได้รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิอนุกรมเวลารายไตรมาสของการส่งออกปลาสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยและของโลกในช่วงปี 2546-2555 ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วยสถิติอย่างง่าย เช่น การหาค่าร้อยละ มีการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิเคราะห์แนวโน้มโดยมีขอบเขตการศึกษาในช่วงปี 2556-2560 ผลการวิจัยพบว่า 1) ปริมาณการจับและเพาะเลี้ยง มูลค่าการนำเข้าและส่งออกปลาสดแช่เย็นแช่แข็งของโลกมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่ส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงปลาเพิ่มขึ้นประกอบกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมประมงในอินเดียช่วงปี 2554-2555 2) ปริมาณการจับและเพาะเลี้ยงปลาของไทยลดลงเนื่องจากปรากฏการณ์เอลนิโญและการสูญเสียระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงปลาตลอดจนต้นทุนการเพาะเลี้ยงที่สูงขึ้นมีผลทำให้มูลค่านำเข้าปลาสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยเพิ่มขึ้นตลอด10 ปีที่ผ่านมา(ปี 2546-2555) เพื่อทดแทนการเพาะเลี้ยงที่ลดลงแต่มูลค่าส่งออกปลาสดแช่เย็นแช่แข็งมีลักษณะที่เพิ่มขึ้นและลดลงเป็นช่วงๆ โดยช่วงปี 2546-2551 มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นแต่ช่วงปี 2552-2555 มีมูลค่าลดลงเนื่องจากมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น 3) แนวโน้มมูลค่าการส่งออกปลาสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยในช่วงปี. 2556-2560 มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดหลักและมาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ ที่ไทยเผชิญในแต่ละตลาดโดยพบว่า ปี 2556 ลดลงร้อยละ 8.34 ปี 2557 ลดลงร้อยละ 2.6 ปี 2558 ลดลงร้อยละ 4.01 ปี 2559 ลดลงร้อยละ 5.62 และปี 2560 ลดลงร้อยละ 7.54 และ 4) จุดแข็ง คือ อยู่ใกล้แหล่งทำการประมงทั้งมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก คุณภาพสินค้าไทยเป็นที่ยอมรับในตลาดโลกตลอดจนรัฐบาลไทยมีนโยบายสนับสนุนและมีการรวมกลุ่มผู้ผลิตเพื่อให้ความรู้ และช่วยเหลือกับสมาชิก จุดอ่อน คือ ภาวะขาดแคลนวัตถุดิบและแรงงาน การเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ปัญหาการใช้แรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย ตลอดจนผู้ประกอบการส่งออกขาดข้อมูลการตลาดและกฎระเบียบ โอกาส คือ ตลาดส่งออกหลักของไทยยังคงมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยเฉพาะตลาดจีน ญี่ปุ่นและอาเซียน และสินค้าประมงของไทยมีศักยภาพในการหาตลาดใหม่เพิ่มเติมได้ในอนาคต อุปสรรค คือ ประเทศผู้นำเข้าบางประเทศนำปัจจัยด้านสังคมศีลธรรมและสิ่งแวดล้อมมาใช้เป็นมาตรการกีดกันทางการค้า นโยบายของประเทศคู่ค้าและคู่แข่งภาวะเศรษฐกิจโลกและค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น การเกิดโรคระบาดต่างๆ ในปลารวมถึงต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectปลาแช่แข็ง--การส่งออกth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจth_TH
dc.titleการวิเคราะห์แนวโน้มการส่งออกปลาสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยth_TH
dc.title.alternativeAn export trending analysis of Thai chilled and frozen fresh fishesth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameเศรษฐศาตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to: 1) study the general situations of world’s capture, aquaculture and the exportation of chilled frozen fresh fishes; 2) investigate the situations of Thai capture, aquaculture and the exportation of chilled frozen fresh fishes; 3) analyze the trend of export trending values of Thai chilled and frozen fresh fishes; and 4) analyze the SWOT of Thai chilled and frozen fish exporting business. The study used Thai and world’s quarterly secondary time-series data during 2003-2012. Descriptive analysis with simple statistic such as mean and table data presentation were employed. Trend analysis was also applied as a quantitative method to examine the export trend during 2013-2017. The results were as follows. 1) The quantity of world’s capture and aquaculture and trading were continuously increasing due to inland aquaculture promotion as well as a rapid expansion of Indian fishery industry during 2012-2013. 2) The quantity of Thai capture and aquaculture were decreasing because of El Nino phenomenon, losing of suitable ecosystem for aquaculture, and an increase of aquaculture costs. This leaded to an increase of import values of the products exporting from Thailand throughout the last 10 years (2003-2012) in order to compensate a decrease in aquaculture areas. However, export values were increased and decreased periodically during this period: they increased during 2003-2008, and decreased during 2009-2012 because of more competitors. 3) Export trend of the Thai products during 2013-2017 were decreasing as a result of losing competitiveness in major markets and trade barriers in each market, the percentage decreasing in these years were 8.34 2.6 4.01 5.62 and 7.54 respectively. 4) Strength: Thailand located nearly fishery areas both Pacific and Indian oceans; The quality of Thai products was recognized in the world market. There are government supporting policy, and the integration of producers to advise knowledge and help among themselves. Weak: There were the lack of raw materials and labor, an increase of raw material costs, illegal labor importation, and the lack of exporters’ information concerning marketing and regulations. Opportunity: Thai major export markets, especially Japan, China and Asean, will continuously expanded in the future. Thai fishery products have potentials in seeking for new markets. Threats: Some importing countries employed social, moral and environment factors as trade barriers. The obstacles occurred from policies of trading partners and competitors, world economic situation, the strength of Thai Baht value, diseases in fishes, and an increase in fuel and other production costsen_US
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
140172.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.35 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons