Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2307
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรรฆย์คณา แย้มนวล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorขวัญนาง ชูเพชร, 2519--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2022-12-02T03:38:05Z-
dc.date.available2022-12-02T03:38:05Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2307-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างรายได้ รายจ่าย ดุลการคลัง และผลการใช้จ่าย งบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลาต่อความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่น ตลอดจนศึกษา ปัญหาทางการคลังด้านการบริหารภายในขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา การศึกษานี้ใช้ข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องขององค์การ บริหารส่วนจังหวัดยะลา และการรวบรวมข้อมูลทางด้านรายได้และรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา โดยใช้วิธีศึกษาทั้งในเชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์การถดถอยประมาณค่าสัมประสิทธิด้วยวิธี กำลังสองน้อยที่สุด เพื่อศึกษาาความสัมพันธ์ระหว่างรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ที่มีผลต่อ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดยะลา ในช่วงปี 2540 - 2550 ผลการศึกษาพบว่า รายได้หลักขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา มาจากรายได้ภาษีอากร สัดส่วนต่อรายได้รวมทั้งหมดเฉลี่ย ร้อยละ 61.96 รองลงมาคือ รายได้จากเงินอุดหนุน พบว่ามีสัดส่วนรายได้รวม ทั้งหมดเฉลี่ย ร้อยละ 22.38 ในส่วนของรายจ่ายองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา มีรายจ่ายประจำมากที่สุดคิดเป็น สัดส่วนรายจ่ายประจำต่อรายจ่ายรวมทั้งหมดเฉลี่ย ร้อยละ 37.75 รองลงมาเป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุนและพัฒนาคิดเป็นสัดส่วนต่อรายจ่ายรวมทั้งหมดเฉลี่ย ร้อยละ 31.22 และรายจ่ายพิเศษ มีสัดส่วนต่อรายจ่ายรวมทั้งหมดเฉลี่ย ร้อยละ 31.03 ตามลำดับ ด้านดุลการคลังเมื่อพิจารณารายได้ทื่ไม่รวมเงินอุดหทุน พบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2540-2550 บริหารการคลังขาดดุลงบประมาณถึง 8 ปี เป็นผลมาจากการที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา มีรายได้น้อยมีงบประมาณจำกัดเมื่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีรายได้เงินอุดหนุนขาดรัฐบาล ทำให้เห็นว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดบริหารการคลังเกินดุลมีเงินสะสมเพิ่มขึ้น ผลการใช้จ่าย งบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ที่มีผลต่อความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่น พบว่า เมื่อ รายจ่ายประจำเปลี่ยนแปลงไป ร้อยละ 1 จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดยะลาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกัน ข้ามกัน ร้อยละ 0.024 เมื่อรายจ่ายพิเศษเปลี่ยนแปลงไป ร้อยละ 1 จะทำให้ผลิฅภัณฑ์มวลรวมจังหวัดยะลา เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน ร้อยละ 0.006 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไวั อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 และเมื่อรายจ่ายเพื่อการลงทุนและพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ร้อยละ 1 จะทำให้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดยะลาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้าม ร้อยละ 0.023 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไวัเนื่องจากผลของรายจ่ายเพื่อการลงทุนและพัฒนา จะต้องอาศัยระยะเวลาหนึ่ง จึงจะส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดยะลาอย่างแท้จริงth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลาth_TH
dc.subjectรายจ่ายของรัฐth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลากับความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่นth_TH
dc.title.alternativeExpenditures of Yala Provincial Administration Organization and local economic growthth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
122070.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons