Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2334
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ส่งเสริม หอมกลิ่น | th_TH |
dc.contributor.author | เกตมณี บุญส่ง | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-12-06T07:01:24Z | - |
dc.date.available | 2022-12-06T07:01:24Z | - |
dc.date.issued | 2558 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2334 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปสมาชิกที่ขายปาล์มน้ำมันของสหกรณ์ 2) การตัดสินใจ ขายปาล์มนํ้ามันของสมาชิกสหกรณ์ 3) ระดับความสําคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจขายปาล์มนํ้ ามันของสมาชิกสหกรณ์ 4) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับการตัดสินใจขายปาล์มนํ้ามันของสมาชิกสหกรณ์และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการตัดสินใจขายปาล์มนํ้ามันของสมาชิกสหกรณ์กองทุนสวนยางห้วยโต้จํากัด จังหวัดกระบี่ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ สมาชิกสหกรณ์ กองทุนสวนยางห้วยโต้ จํากัด ที่ขายปาล์มนํ้ามันให้แก่สหกรณ์ทั้งหมด จํานวน 85 ราย โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมดเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษา พบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 36 – 50 ปีจบการศึกษาระดับ ประถมศึกษา จํานวนสมาชิกในครอบครัวที่ช่วยกันทําการเกษตร 2-3 คน ระยะเวลาการเป็นสมาชิก 1-5 ปี มีผลผลิตปาล์มนํ้ามันต่อปี 61 ตันขึ้นไป รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อปี180,001 บาทขึ้นไป รายจ่ายของครอบครัวเฉลี่ยต่อปี 150,001 บาทขึ้นไป ตลาดที่สมาชิกสหกรณ์ขายปาล์มนํ้ามันเป็นประจํานอกจากสหกรณ์คือ สหกรณ์อื่นๆ 2) การตัดสินใจขายปาล์มนํ้ามันของสมาชิกสหกรณ์ พบว่า สมาชิกสหกรณ์ขายผลปาล์มน้ำมันให้สหกรณ์ในแต่ละครั้งมีจํานวน 2-5 ตัน ร้อยละ 64.7 ความถี่ในการขายปาล์มนํ้ามันให้กับสหกรณ์ เดือนละ 2 ครั้ง ร้อยละ 58.8 เหตุผลในการขายปาล์มนํ้ามันให้กับสหกรณ์เพราะราคาสูง ร้อยละ 50.6 และผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจขายปาล์มนํ้ามันให้กับสหกรณ์คือ ตนเองร้อยละ 36.5 และ ภรรยา/สามี ร้อยละ 35.3 3) ระดับความสําคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจขายปาล์มนํ้ามันของสมาชิกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกปัจจัย คือ ปัจจัยด้านราคา (ปาล์มนํ้ามัน) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านกระบวนการของสหกรณ์ และ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ปาล์มนํ้ามัน 4) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับการตัดสินใจขายปาล์มนํ้ามันของสมาชิกสหกรณ์ที่มีค่าเฉลี่ยในการตัดสินใจสูงสุด ได้แก่ ปัจจัยด้านการจัดจําหน่ายกับปริมาณในการขายปาล์ม จํานวน 11 ตันขึ้นไป ด้านราคากับความถี่ในการขายเดือนละ 1 ครั้ง และด้านราคากับเหตุผลในการขาย คือราคาสูง และใกล้บ้าน และด้านกระบวนการให้บริการของสหกรณ์กับผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจขาย คือ พ่อหรือแม่ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการตัดสินใจขายปาล์มนํ้ามันของสมาชิกสหกรณ์ ด้านกระบวนการให้บริการของสหกรณ์ คือ ควรมีบริการรับจ้างตัดปาล์มและขนปาล์มให้สมาชิก และปัญหาการคัดปาล์มนํ้ามันดิบ และมีข้อเสนอแนะคือ ควรให้ความรู้แก่สมาชิกเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มนํ้ามัน ส่วนด้านการส่งเสริมการตลาดของสหกรณ์ ควรมีการสื่อสารข่าวสารต่างๆ รวมทั้งราคารับซื้อปาล์มให้สมาชิกรับทราบล่วงหน้า | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | ปาล์มน้ำมัน--ไทย--กระบี่ | th_TH |
dc.subject | การตัดสินใจ | th_TH |
dc.subject | การขาย | th_TH |
dc.title | การตัดสินใจขายปาล์มน้ำมันของสมาชิกสหกรณ์กองทุนสวนยางห้วยโต้ จำกัด จังหวัดกระบี่ | th_TH |
dc.title.alternative | Decision making to sell palm oil of Huai Too Rubber Replanting Fund Cooperatives Ltd., Krabi. Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สหกรณ์) | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The study objectives were to study 1) the general situation of members who sell oil palm, 2) the decision to sell oil palm of members, 3) the significance level of marketing mix factors for decision to sell oil palm, 4) the marketing mix factors and decision to sell oil palm, and 5) the problems and suggestion of decision to sell oil palm of members of the Huai Too Rubber Replanting Fund Cooperatives Ltd., Krabi Province. This independent study was the survey research. The population of this study was the members of the Huai Too Rubber Replanting Fund Cooperatives Ltd. who sold oil palm to the cooperatives with the population size of 85 persons and studied from all populations. The study tool was a questionaire. The applied statistics were frequency, percentage, arithmetic mean and standard deviation. The study found that 1) the majority of members were male with the ages range of 36-50 years old, primary school graduated, had family’s members of 2-3 persons who helped each other to make cultivation. The period of cooperatives membership was approximately 1-5 years. The oil palm production was over 61 tons/year, the average family income was more than 180,001 baht. Moreover, the family’s average expense was more than 150,001 baht. The markets that the members often sell besides the cooperatives were other cooperatives. 2) For the decision to sell oil palm of members of the cooperatives, it was found that oil palm were sold to the cooperatives 2-5 tons per time (64.7 percent). The frequency of selling oil palm to the cooperatives was twice per month (58.8 percent). The reason to sell oil palm to the cooperatives was that it offered a high price (50.6 percent). Moreover, individuals who participated in decision to sell oil palm to the cooperatives was themselves by 36.5 percent and their wives/husband by 35.3 percent. 3) The overall significance level of marketing mix factors for decision to sell oil palm of members were moderate, which were the factor of oil palm price, the factor of process of the cooperatives and the factor of oil palm products. 4) The marketing mix factors and decision to sell oil palm of members of the cooperatives with the highest average were the factor of distribution and volume of oil palm selling for over 11 tons, the price and frequency of selling for one time per month, the price and the reasons of selling which were its high price and closed to owner’s house. The service process of cooperatives with the participants of selling decision was father or mother. 5) The problems and recommendations of decision to sell oil palm of members in term of service process of cooperatives were that the service to cut and transfer palms should be provided and the problem of selecting raw palms. The suggestion was that knowledge should be provided to members on collecting oil palm. For the marketing promotion of the cooperatives, news and purchasing price should be communicated to members in advance. | en_US |
Appears in Collections: | Agri-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
151021.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License