Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2345
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์ | th_TH |
dc.contributor.author | ชวลิต พงษ์พิทักษ์, 2502- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-12-06T08:59:25Z | - |
dc.date.available | 2022-12-06T08:59:25Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2345 | en_US |
dc.description.abstract | ปัญหาภัยแล้งถือว่าเป็นปัญหาส่งผลกระทบค่อนข้างมากสำหรับเกษตรกรที่ทำ การเกษตรน่าฝน เนื่องจากรัฐบาลได้จ่ายเงินชดเชยความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรจากภัยแล้ง มาโดยต่อเนื่องและมีแนวโน้มว่ามูลค่าการชดเชยจะเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดปัญหาภัยแล้งเกษตรกรจะได้รับ การชดเชยความเสียหายไม่ว่าจะมีสถานภาพการถือครองที่ดินที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือแม้ว่าค่าใช้จ่ายของรัฐสำหรับการชดเชยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรมักจะไม่ได้รับการชดเชยที่สอดคล้องกับขนาดและมูลค่าของความ เสียหายนอกจากนั้นย้งมีประเด็นที่ว่าในกรณีที่เกษตรกรไม่มีสิทธิทางกฎหมายในการถือครองที่ดิน การได้รับการชดเชยจะกลายเป็นการส่งสัญญาณเกี่ยวกับความชอบธรรมและเป็นแรงจงใจให้ เกษตรกรกล้าเสี่ยงที่จะขยายพื้นที่เพาะปลูกหรือไม่ การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาหลักการใช้จ่ายของรัฐในการชดเชย รายได้ให้เกษตรกรทั้งที่มีเอกสารสิทธิ และไม่มีเอกสารสิทธิ (2) วิเคราะห์โครงสร้างรายได้ ครัวเรือนในพื้นที่ของเกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดิน เพื่อหาสัดส่วนรายได้ที่เกิดจากการใช้ที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมต่อรายได้รวม (3) เพื่อชี้ให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายส่วนหนื่งของรัฐถูกนำไปชดเชยให้ เกษตรกรที่มีสถานภาพความเป็นเจ้าของและมีสิทธิในที่ดินไม่ชัดเจนซึ่งอาจเป็นแรงจูงใจให้ เกษตรกรบุกรุกที่ดินเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ในส่วนของข้อมูลปฐมภูมิได้จากข้าราชการที่รับผิดชอบใน การดำเนินโครงการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้เกษตรกร จำนวน 18 คน และจาก เกษตรกรในพื้นที่อำเภอบ่อพลอยและอำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งได้รับเงินชดเชยภัยแล้ง จำนวนอำเภอละ 30 คน รวม 60 คน ผลการศึกษาพบว่า รายได้ต่อไร่หากไม่ประสบภัยแล้งของเกษตรกรเฉลี่ยอยู่ที่ 1,344 บาท ต่อไร่ แต่เกษตรกรได้รับเงินชดเชยเฉลี่ย 574 บาท ต่อไร่ ซึ่งเฉลี่ยมูลค่าการชดเชยตํ่ากว่ารายได้ที่ เกษตรกรควรจะได้ คือได้รับการชดเชยเพียงร้อยละ 42 ขนาดการถือครองที่ดินเฉลี่ย 21 ไร่ ต่อครัวเรือน พื้นที่ผลผลิตเสียหายเฉลี่ย 17 ไร่ ต่อครัวเรีอน ซึ่งพื้นที่เสียหายและได้รับการชดเชย ตํ่ากว่าที่ควรจะได้ แต่หากพิจารณาจากความชอบธรรมในการถือครองที่ดินจะเป็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่ควรพิจารณาว่าเกษตรกรควรมีสิทธิได้รับการชดเชยหรีอไม่ | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | การชดใช้ค่าเสียหาย -- ไทย | th_TH |
dc.subject | กรรมสิทธิ์ที่ดิน | th_TH |
dc.subject | ค่าทดแทน ค่าทดแทน | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.subject | เกษตรกร -- ไทย -- ค่าทดแทน | th_TH |
dc.title | การใช้จ่ายของรัฐในการชดเชยเกษตรกรที่มีสิทธิ์การใช้ที่ดินไม่สมบูรณ์ : กรณีศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Study of state's compensation to farmers without legal land ownership : a case of Kanchanaburi province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
124679.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License