Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2352
Title: การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: An analysis of factors affecting decision for using natural gas of care in Bangkok
Authors: สุภาสินี ตันติศรีสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชัชวาลย์ ศุขวัฒน์, 2499-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์
รถยนต์ -- การใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทั่วไปของผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับ รถยนต์ส่วนบุคคล ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้ก๊าซธรรมชาติ สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล ในเขตกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการใช้ก๊าชธรรมชาติ สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล ในเขตกรุงเทพมหานคร วิธีวิจัยใช้วิธีออกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่ใช้ก๊าช ธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ในระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน 2550 จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยการสุ่ม แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาในรูปของการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยทดสอบความเป็นอิสระระหว่างตัว แปรปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลกับลักษณะ พื้นฐานต่างๆ ของกลุ่มตัวอย่างด้วยค่าสถิติไคสแควร์ ที่ระดับความเชื้อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ใช้ก๊าชธรรมชาติสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล ในเขต กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 25-34 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพลูกจ้างเอกชน รายได้เฉลี่ยมากกว่า 35,000 บาทต่อเดือน ใช้รถยนต์ที่มีขนาดความจุกระบอกสูบมากกว่า 2,000 ลบ.ซม. และระยะทางใช้รถยนต์เฉลี่ยมากกว่า 100 กิโลเมตรต่อวัน 2) การเลือกใช้ก๊าชธรรมชาติของผู้บริโภคมี เกณฑ์การตัดสินใจโดยให้ความสำคัญกับปัจจัยต่างๆ เรียงตามลำดับ คือ จำนวนสถานีบริการเติมก๊าช ธรรมชาติ ระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลง ระดับราคาก๊าชธรรมชาติ ระดับราคาของการติดตั้งอุปกรณ์ใช้ก๊าช ธรรมชาติ นโยบายสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐ ทัศนคติด้านสมรรถนะเครื่องยนต์ทัศนคติด้าน ความปลอดภัยระดับรายได้ การช่วยลดการนำเข้าน้ำมัน การช่วยลดมลพิษในอากาศ และคำแนะนำ หรือทัศนคติของบุคคลแวดล้อม ตามลำดับ 3) ปัญหาที่ผู้ใช้ก๊าชธรรมชาติประสบอยู่ส่วนใหญ่ คือ จำนวนสถานีที่ให้บริการเติมก๊าซธรรมชาติมีไม่เพียงพอกับความต้องการ ส่วนอุปสรรคที่ผู้ใช้ก๊าซ ธรรมชาติประสบอยู่ส่วนใหญ่คือราคาของการติดตั้งอุปกรณ์ในการใช้ก๊าซธรรมชาติมีราคาสูงเกินไป
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2352
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
113539.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.94 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons