Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2354
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภาสินี ตันติศรีสุข, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorชำนาญ กิจธนขจร, 2520--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2022-12-07T06:39:19Z-
dc.date.available2022-12-07T06:39:19Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2354-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ต จำแนกตามสาขา การผลิต ในช่วงปี พ.ศ. 2541 - 2550 (2) ศึกษาผลกระทบเกี่ยวเนื่องและตัวทวีคูณที่เกิดจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่อ สาขาการผลิตของจังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ. 2550 วิธีการศึกษา (1) การวิเคราะห์โครงสร้างเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต โดยการวิเคราะห์สัดส่วนและอัตรา การเจริญเติบโตของสาขาการผลิตต่างๆ ของจังหวัดภูเก็ต และวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีฐานเศรษฐกิจเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพ การผลิตของจังหวัดภูเก็ต ในช่วงปี พ.ศ. 2541 - 2550 (2) การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ. 2550 ต่อผลกระทบของสาขาการผลิตต่างๆ โดยอาศัยตารางปัจจัยการผลิต - ผลผลิตของประเทศไทย ขนาด 26 สาขาการผลิต ณ ราคาผู้ผลิต ปี พ.ศ. 2543 เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ในช่วงปี พ.ศ.2541-2550 สาขาการผลิดที่เป็นทั้งสาขาการผลิตนำและสาขา การผลิตหลักของจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร สาขาการประมง สาขาการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้าและการคมนาคม และสาขาการก่อสร้าง และถึงแม้ว่าสาขาการประมงจะสามารถสร้างรายได้ให้กับจังหวัดเฉลี่ยต่อปี สูงถึง 3,473.31 ล้านบาท แต่สาขาการผลิตนี้กลับมีศักยภาพการผลิตลดลงอย่างต่อเนื่อง (2) ในปี พ.ศ. 2550 รายได้ของ นักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดภูเก็ต ทั้งหมด 11,459.16 ล้านบาท เมื่อพิจารณาผลกระทบเชื่อมโยงไปข้างหลัง พบว่า สาขาการผลิตที่เกิดผลผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ สาขาภัตตาคารและโรงแรม (4,484.93 ล้านบาท) สาขาการบริการ (3,275.21 ล้านบาท) และสาขาการคมนาคมและสื่อสาร (2,285.69 ล้านบาท) โดยสาขาการผลิตที่มีตัวทวีคูณมากที่สุด ได้แก่ สาขาการผลิตเครื่องจักรกล 12.23 เท่า สาขาการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะอื่นๆ 5.01 เท่า และสาขาเครื่องดื่มและ ผลิตภัณฑ์ใบยาสูบ 3.25 เท่า และเมื่อพิจารณาผลกระทบเชื่อมโยงไปข้างหนัา พบว่า สาขาการผลิตที่เกิดผลผลิตเพิ่มขึ้น มากที่สุด ได้แก่ สาขาภัตตาคารและโรงแรม(4,787.71 ล้านบาท) สาขาการบริการ (3,164.60 ล้านบาท) และสาขาการคมนาคมและสื่อสาร (2,132.37 ล้านบาท) โดยสาขาการผลิตที่มีตัวทวีคูณมากที่สุดได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมอาหารและสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์อโลหะมีตัวทวีคูณเท่ากน คือ 6.78 เท่า สาขาการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะอื่นๆ 4.92 เท่าสำหรับรายได้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในจังหวัดภูเก็ต ทั้งหมด 68,135.03 ล้านบาท เนื่อพิจารณาผลกระทบเชื่อมโยงไปข้างหลังพบว่าสาขาการผลิตที่เกิดผลผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ สาขาภัตตาคารและโรงแรม (25,416.70 ล้านบาท) สาขาการบริการ(20,243.85 ล้านบาท) และสาขาอุตสาหกรรมอาหาร (12,542.48 ล้านบาท) โดยสาขาการผลิตที่มีตัวทวีคูณมากที่สุด ได้แก่ สาขาการผลิตเครื่องจักรกล 10.21 เท่า สาขาการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะอื่นๆ 4.36 เท่า และสาขาเครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์ใบยาสูบ 3.17 เท่า และเนื่อพิจารณาผลกระทบเชื่อมโยงไปข้างหน้าพบว่า สาขาการผลิตที่ เกิดผลผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ สาขาภัตตาคารและโรงแรม (27,186.07 ล้านบาท) สาขาการบริการ(19,599.83 ล้านบาท) และสาขาการคมนาคมและสื่อสาร (11,272.46 ล้านบาท) โดยสาขาการผลตที่มีตัวทวีคูณมากที่สุด ได้แก่ สาขาการผลิตผลิตภัณฑ์อโลหะ 5.82 เท่า สาขาการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะอื่นๆ 4.25 เท่า และกิจกรรมที่มีอาจระบุประเภทได้ 3.92 เท่าth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectอุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- ภูเก็ตth_TH
dc.subjectอุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- แง่เศรษฐกิจth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleผลกระทบเกี่ยวเนื่องของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต่อสาขาการผลิตของจังหวัดภูเก็ตth_TH
dc.title.alternativeThe linkage effects of tourism industry to the economic sectors of Phuket Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
127270.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.55 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons