Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2356
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภาสินี ตันติศรีสุข, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorชุติมา สุทธิแย้ม, 2506--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2022-12-07T07:03:57Z-
dc.date.available2022-12-07T07:03:57Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2356-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้ โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบชำระค่าบริการล่วงหน้าในกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบชำระค่าบริการล่วงหน้าในกรุงเทพมหานคร (3) ศึกษาพฤติกรรมการใช้ โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบชำระค่าบริการล่วงหน้าในกรุงเทพมหานคร (4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการใช้ โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบชำระค่าบริการล่วงหน้าในกรุงเทพมหานคร วิธีการศึกษาลักษณะส่วนบุคคลของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบชำระค่าบริการล่วงหน้า ใช้ การวิเคราะห์เชิงพรรณาโดยใช้ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบชำระค่าบริการล่วงหน้าเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้สมการถดถอยพหุกลุ่ม ประมาณการ ค่าพารามิเตอร์โดยวิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุด การทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยวิธีไคสแควร์ ที่ระดับ นัยสำคัญ 0.05 การศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบชำระค่าบริการล่วงหน้าโดยการวิเคราะห์ เชิงพรรณาโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร จำนวน 500 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือน ตุลาคม - ธันวาคม2551 ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบชำระค่าบริการล่วงหน้าส่วน ใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 63.40 อายุ ระหว่าง 21 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 37 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน คิดเป็นร้อยละ 38 รายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 5,001- 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 29 ระดับการศึกษา ปริญญา ตรี คิดเป็นร้อยละ 43.20 (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบชำระค่าบริการล่วงหน้า คือ อายุ อาชีพ ราคาบัตรเติมเงิน โดยราคาบัตรเติมเงินมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับการใช้ โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบชำระค่าบริการล่วงหน้าที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐาน ส่วนการ ทดสอบโดยใช้สถิตไคสแควร์ พบว่า เพศ อายุ อาชีพ แตกต่างกัน ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบชำระค่าบริการ ล่วงหน้าแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐาน (3) พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบชำระ ค่าบริการล่วงหน้า ส่วนใหญ่ใช้เพราะเชื่อมั่นในระบบสัญญาณ ใช้เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร เนื่องจากค่าบริการถูก ไม่มีค่าบริการรายเดือน ราคาบัตรเติมเงิน 300 บาท และมีการเติมเงิน 2-3 ครั้งต่อเดือน (4) ปัญหาที่พบคือ การขูดรหัสบัตรเติมเงิน แถบตัวเลขหลุคง่ายเกินไป และจำนวนเลขรหัสมากเกินไปทำให้ ขั้นตอนการเติมเงินไม่สะดวก และอุปสรรคสำคัญคือเรื่องของสัญญาณ และสัญญาณที่ระบุว่าไม่สามารถ ติดต่อได้ในขณะนี้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectโทรศัพท์เคลื่อนที่ -- ไทย -- กรุงเทพฯth_TH
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย -- กรุงเทพฯth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบชำระค่าบริการล่วงหน้าและพฤติกรรมการใช้ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting for pre-paid mobile phone system and consumer's behaviour in Bangkok Metropolisth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
130381.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.68 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons