Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2384
Title: | การควบคุมภายในของสหกรณ์ภาคการเกษตรในจังหวัดกระบี่ |
Other Titles: | Internal control of Agricultural Cooperatives in Krabi Province |
Authors: | ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์ ฉายา บุญเสริม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์การเกษตร--การจัดการ.--ไทย--กระบี่ การควบคุมภายใน การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประะสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการควบคุมภายในของสหกรณ์ภาค การเกษตรในจังหวัดกระบี่ และ 2) ประเมินผลการควบคุมภายในของสหกรณ์ภาคการเกษตรในจังหวัดกระบี่ วิธีการศึกษา ผู้ศึกษาใช้วิธีสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้แทนกรรมการดำเนินการสหกรณ์และผู้จัดการ สหกรณ์ตามรายการในแบบประเมินการควบคุมภายในควบคู่กับการตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ใช้แบบประเมินสหกรณ์ละ 1 ชุด จำนวน 8 สหกรณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าสัดส่วน ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพการควบคุมภายในของสหกรณ์ภาคการเกษตรในจังหวัดกระบี่ มีรายการ กี่ไม่ได้ปฏิบัติหรือมีข้อบกพร่องทั้ง 11 ด้าน รายการทื่ไม่ปฏิบัติมากที่สุดในแต่ละด้านได้แก่ 1) ด้านการติดตามและการ ปฏิบัติงาน สหกรณ์ไม่ได้ส่งสำเนาระเบียบต่าง ๆ ที่สหกรณ์กำหนดขึ้นลึอใช้ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจ บัญชีสหกรณ์ทราบ 2) ด้านการจัดทำทะเบียนและจัดทำรายงานประจำปี สหกรณ์ไม่มีคำสั่งมอบหมายให้มี ผู้รับผิดชอบเก็บรักษาเอกสารสำคัญของสหกรณ์ และไม่ได้ส่งสำเนาระเบีอบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานให้ฝ่าย/ แผนกที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานนั้น ทราบเพื่อถึอบปฏิบัติ 3) ด้านการเงิน สหกรณ์ไม่ได้จัดให้มีกรรมการและหรือ ผู้เกี่ยวข้องสุ่มตรวจเงินสดในมือของเจ้าหน้าที่การเงินเพื่อสอบทานยอกดกับสมุดเงินสดหรือบางครั้งมีการสุ่มตรวจเงิน สดในมือแต่ไม่มีการบันทึกผลการตรวจสอบไวัเป็นลายลักษณ์อักษร 4) ด้านการบัญชี สหกรณ์ไม่มีกำลังมอบหมาย ให้มีผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีมีเฉพาะบันทึกในงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการเท่านั้น 5) ด้านการ จัดทำงบดุล สหกรณ์ไม่ได้ขออมุมติงบุคลากรที่ประชุมใหญ่ ภายใน 150 วัน นับแด่วันสิ้นปีทางบัญชี 6) ด้าน ธุรกิจสินเชื่อ สหกรณ์ไม่มีแผนปฏิบัติการเร่งรัดหนี้สินเพื่อให้พนักงานสินเชื่อปฏิบัติ 7) ด้านธุรกิจซื้อ สหกรณ์ไม่มี การจัดสินค้าตามความด้องการของสมาชิกซึ้งสหกรณ์ไม่ได้สำรวจสินค้าที่สมาชิกต้องการก่อนสั่งสินค้าและ การสั่งซี้อสินค้าใม่ใด้ผ่านการอนุมัติจากผู้มีอำนาจก่อน และสหกรณ์ไม่มีการสุ่มสอบทานหนี้กรณีที่มีการซื้อขาย เป็นเงินสินเชื่อ 8) ด้านธุรกิจการขาย สหกรณ์ไม่ได้สำรวจความต้องการจำหน่ายผลผลิตของสมาชิก และไม่ได้สุ่มตรวจ ผลผลิตคงเหลือเพื่อยืนยันยอดการตรวจนับกับทะเบียนคุม 9) ด้านธุรกิจการรับฝากเงิน สหกรณ์ไม่มีคำสั่งมอบหมาย ผู้รับผิดชอบทำหน้าที่รับฝากเงินและอนุมัติให้ถอนเงินภายในวงเงินที่กำหนด 10) ด้านธุรกิจแปรรูป ก่อนการซื้อ วัตถุดิบหรึอจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปเป็นเงินเชื่อไม่ได้จัดให้มีการอมุมัติจากคณะกรรมการ/อนุกรรมการและ สหกรณ์ไม่ได้ตรวจนับวัตถุดิบ และผลิตกัณฑ์แปรรูปคงเหลึอเป็นประจำ และสหกรณ์ไม่ได้สุ่มทานหนี้ เนื่องจาก รอบการซึ้อ-ขายเงินเพื่อเป็นระยะสั้นไม่เกิน 15 วัน และ 11) ด้านการจัดสวัสดิการสหกรณ์ไม่มีการสุ่มตรวจสอบ การจัดสวัสดิการให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อ 2 การประเมินผลการควบคุม ภายในสหกรณ์ภาคการเกษตร จังหวัดกระบี่ ทั้ง 8 สหกรณ์ และจัดเรียงลำดับตามค่าสัดส่วนของการบปฏิบัติได้ ตามจุคควบคุมภายในจากมากไปหาน้อยสามารถจัดลำดับได้ดังนี้ สหกรณ์การเกษตรปลายพระยา จำกัด สหกรณ์ การเกษตรลำทับ จำกัด สหกรณ์การเกษดรเมืองกระบี่ จำกัด สหกรณ์การเกษตรคลองท่อม จำกัด สหกรณ์กองทุน สวนยางบ้านคลองยาง จำกัด สหกรณ์การเกษตรอ่าวลึก จำกัด สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านควนม่วง จำกัด สุดทัาย สหกรณ์การเกษตรเขาพนม จำกัด ซึ่งสหกรณ์การเกษตรเขาพนม จำกัด มีค่าสัดส่วนของการปฏิบัติได้ตามจุดควบคุม ภายในน้อยที่สุดแสดงว่าสหกรณ์มีจุคอ่อน/ข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไขมาก |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2384 |
Appears in Collections: | Agri-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
113075.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License